preloading
latest news latest news
Code of Conduct

Code of Conduct

img name
img name

คู่มือจริยธรรม และจรรยาบรรณธุรกิจ

Code of Conduct

จริยธรรม และจรรยาบรรณธุรกิจ คือ มาตรฐานการประพฤติปฏิบัติที่ดี กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ทุกท่าน ซึ่งรวมถึงกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือปฏิบัติที่จะป้องกันการประพฤติปฏิบัติในทางที่ผิดหรือทำให้เสื่อมเสีย ซึ่งจะสะท้อนให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อบริษัท จริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นการประมวลแบบแผน ขอบเขตมาตรฐานความประพฤติ และพฤติกรรมที่พนักงานทุกคนของบริษัท พึงใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปในวิถีทางเดียวกัน ดังนั้น จรรยาบรรณธุรกิจฉบับนี้ใช้สำหรับทุกท่าน ซึ่งรวมถึงกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน ของบริษัทและบริษัทย่อยของบริษัททั้งหมด ขอให้ทุกท่านพิจารณาปรับใช้ให้เข้ากับบริบททางธุรกิจและผ่านกระบวนการอนุมัติภายใน ตามหลักธรรมาภิบาล ของแต่ละบริษัท

หมวด 1 การเคารพกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชน

คณะกรรมการบริษัท ยึดมั่นให้พนักงานทุกคนเคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดจนขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น พร้อมทั้งการเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย และมาตรฐานสากล โดยบริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติต่อพนักงาน บริษัทย่อย และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของบริษัทอย่างเป็นธรรม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ รวมทั้งการรักษาสิทธิมนุษยชนของพนักงานตามที่กฎหมายแรงงาน และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นธรรม

แนวปฏิบัติ

  1. ให้ความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างในทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม และการให้สิทธิเท่าเทียมต่อคนพิการ
  2. ดูแล รักษาข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน ไม่เปิดเผยข้อมูลอันเป็นส่วนบุคคลสู่สาธารณชน ก่อนได้รับความเห็นชอบจากผู้นั้น
  3. ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ
    ให้ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน
  4. บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองบุคคลที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  5. ผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณของบริษัท จะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้ และอาจจะได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

หมวด 2 นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย

การดำเนินธุรกิจของบริษัท ย่อมเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า หน่วยราชการ ตลอดจน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม  ดังนั้น บริษัทตระหนักและเคารพสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินธุรกิจของบริษัท อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า หน่วยราชการ ตลอดจน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทได้จัดทำ “นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย” เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียดังกล่าวตามกฎหมาย เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ โดยการเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นในระยะยาวพร้อมไปกับการคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของบริษัทด้วย

ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) หมายถึง

บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยทางตรง หรือทางอ้อม หรือมีผลประโยชน์ใด ๆ กับการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือมีอิทธิพลเหนือบุคคลใดที่อาจทำให้เกิดผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า หน่วยราชการ ตลอดจน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

นโยบายการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น

      บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท จึงกำหนดให้กรรมการในฐานะเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้น รวมทั้งผู้บริหารและพนักงานของบริษัท มีหน้าที่ต้องดำเนินธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทได้ปฏิบัติหน้าที่ภายในขอบเขตของกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติคณะกรรมการ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความซื่อสัตย์ (Duty of Loyalty) ความระมัดระวัง (Duty of Care) มีความรับผิดชอบ (Accountability) และมีจริยธรรม (Ethics) โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน  
  2. เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิในการเสนอระเบียบวาระ เสนอชื่อบุคคลเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ และเสนอคำถามล่วงหน้าก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น
  3. ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องให้ผู้ถือหุ้นตัดสินใจในที่ประชุมเป็นการล่วงหน้าอย่างเพียงพอ
  1. เปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงินของบริษัทที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา ตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสื่อสารนโยบาย แนวทางการบริหารจัดการ รวมถึงผลการดำเนินงาน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  2. ดูแลไม่ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใช้โอกาสจากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานบริษัท แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน โดยนำข้อมูลภายในของบริษัทที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก หรือดำเนินการใดในลักษณะที่อาจก่อนให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
  3. บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม และเพียงพอที่จะปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น
  4. จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยติดต่อผ่านเว็บไซต์และนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัท
  5. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อพนักงาน

      บริษัทตระหนักว่าพนักงานเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบรรลุเป้าหมายของบริษัท จึงปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมบนหลักสิทธิมนุษยชนตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเคร่งครัด
  2. บริษัทให้ความสำคัญต่อการเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ เพศ อายุ พื้นฐานการศึกษา และการให้สิทธิเท่าเทียมต่อคนพิการ รวมทั้งการรักษาสิทธิมนุษยชนของพนักงานตามที่กฎหมายแรงงานและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นธรรม
  3. จัดให้มีกระบวนการจ้างงาน และเงื่อนไขการจ้างงานที่เป็นธรรม รวมทั้งให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม และเหมาะสมตามความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
  4. จัดให้มีสวัสดิการตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ประกันสังคม เป็นต้น และนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด เช่น ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ เป็นต้น รวมทั้งการให้เงินช่วยเหลือประเภทต่างๆ ให้กับพนักงาน เช่น ทุนการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือสมรส และเงินช่วยฌาปนกิจ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อให้มีความมั่นคง และเป็นผลประโยชน์ระยะยาวให้กับพนักงาน
  5. จัดให้มีการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับองค์กรได้ และมีการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ทุกครั้ง
  6. ส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกในเรื่องการทำงานด้วยความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ และจัดให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีความปลอดภัย ถูกสุขอนามัยตามมาตรฐาน เพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และมีสุขอนามัยในสถานที่ทำงานที่ดี
  7. การแต่งตั้ง และการโยกย้ายพนักงาน รวมถึงการให้รางวัลและการลงโทษพนักงาน กระทำด้วยความสุจริตใจ และตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมของพนักงาน
  8. ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการให้ความเห็น และเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชาบนพื้นฐานตามความสามารถและความรู้ทางวิชาชีพ
  9. บริษัทจะให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลการดำเนินงานและสถานภาพของบริษัทให้พนักงานทราบอย่างสม่ำเสมอ
  10. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อลูกค้า

      บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะให้ผู้ใช้สินค้าและบริการได้รับประโยชน์และความพึงพอใจอย่างสูงสุด ทั้งด้านคุณภาพและราคาที่เป็นธรรม ตลอดจนมุ่งพัฒนาและรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืน โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทมุ่งเน้นสินค้าให้มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม ตลอดจนมุ่งมั่นสร้างนวัตกรรม วิจัยและพัฒนาคุณภาพของสินค้าและการบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งด้านคุณภาพ ราคา และความปลอดภัยเป็นสำคัญ
  2. บริษัทให้ความเอาใจใส่ในทุกๆ ขั้นตอนการผลิต เริ่มตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบคุณภาพจนถึงการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพตรงตามความคาดหวังของลูกค้าภายใต้เงื่อนไขและราคาที่เป็นธรรม รวมทั้ง บริษัทให้ความสำคัญของความปลอดภัยในการใช้สินค้าของบริษัท โดยสินค้าของบริษัทจะต้องมีเอกสารกำกับสินค้า
  3. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าและบริการของบริษัทที่ถูกต้อง เพียงพอ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจ
  4. บริษัทได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้กับลูกค้าอย่างถูกต้องครบถ้วน และไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดหรือผิดสัญญากับลูกค้า รวมทั้ง มีระบบการจัดเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้าอย่างปลอดภัย และจะไม่นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์โดยทางมิชอบ
  5. จัดให้มีบริการหลังการขาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. จัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียน หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสินค้าของบริษัทจากลูกค้า เพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากที่สุด รวมทั้งมีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นประจำทุกปี เพื่อนำข้อเสนอแนะหรือข้อร้องเรียนมาปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการของบริษัท
  7. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้

      บริษัทมีนโยบายที่จะให้การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้เป็นธรรม มีความรับผิดชอบ และโปร่งใส โดยปฏิบัติตามสัญญาและเงื่อนไขทางการค้าที่ตกลงกันและพันธะทางการเงินไว้อย่างเคร่งครัด โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทได้ปฏิบัติตามสัญญาและเงื่อนไขทางการค้าที่ตกลงกันและพันธะทางการเงินไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัตถุประสงค์ของการใช้เงิน การชำระคืน เงื่อนไขการค้ำประกัน การบริหารเงินทุน และเรื่องอื่นใดที่ได้มีการข้อตกลงกันไว้กับเจ้าหนี้ เพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน
  2. บริษัทมุ่งมั่นในการรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับเจ้าหนี้ และให้ความเชื่อถือซึ่งกันและกัน ตลอดจนไม่ใช้วิธีการที่ไม่สุจริต ปกปิดข้อมูล หรือข้อเท็จจริงอันจะทำให้เจ้าหนี้เกิดความเสียหาย
  3. เมื่อมีเหตุสำคัญอันอาจกระทบต่อสถานะการเงิน โดยมีนัยสำคัญและอาจกระทบต่อหนี้ที่ต้องชำระ บริษัทจะแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบโดยเร็ว เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยใช้หลักความสมเหตุสมผล
  4. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อคู่ค้า

      บริษัทมีนโยบายที่จะให้การปฏิบัติต่อต่อคู่ค้าทุกรายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท และปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้กับคู่ค้าอย่างเคร่งครัด โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทมีวิธีการคัดเลือกคู่ค้าที่มีความชัดเจน โปร่งใส ยุติธรรม ตามนโยบายจัดซื้อจัดจ้างของบริษัท
  2. บริษัทได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้กับคู่ค้าอย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดได้ บริษัทจะแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบโดยเร็ว เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยใช้หลักความสมเหตุสมผล
  3. มีการสร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจที่ดีต่อ รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในการผลิตและบริการให้ได้มาตรฐาน
  4. บริษัทให้ความสำคัญในการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอ และไม่นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
  5. สนับสนุนให้คู่ค้าของบริษัทให้ความร่วมมือในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในทางการค้ากับคู่ค้า เพื่อเป็นการป้องกันการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นธรรม
  6. หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าที่คู่ค้าละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
  7. ดูแลและช่วยเหลือคู่ค้าให้สามารถดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับธุรกิจของบริษัท โดยไม่เอาเปรียบทางการค้า
  8. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า

      บริษัทมีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าภายใต้กรอบการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม ไม่ละเมิดความลับ หรือล่วงรู้ความลับทางการค้าของคู่ค้าด้วยวิธีฉ้อฉล โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทได้ปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าภายใต้กรอบการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม ไม่ใส่ร้ายป้ายสี ไม่โจมตีคู่แข่งโดยปราศจากข้อมูลและเหตุผล
  2. ให้การสนับสนุนการร่วมมือกับคู่แข่งทางการค้าที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า
  3. ไม่ล่วงละเมิดความลับ หรือแสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีทุจริต
  4. ไม่ทำลายชื่อเสียงและความสัมพันธ์กับคู่แข่งทางการค้า รวมถึงไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หรือคู่แข่งทางการค้า
  5. ในกรณีที่บริษัทเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดในสินค้าใด ต้องไม่ใช้อำนาจเหนือตลาดดังกล่าวในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมในทางการค้า
  6. บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม และเพียงพอที่จะปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น
  7. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อหน่วยราชการ

      บริษัทให้ความสำคัญกับหน่วยงานราชการในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย โดยบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายภาษี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่ทางภาครัฐกำหนด
  2. บริษัทไม่มีการปฏิบัติใดที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน การจ้างงาน การใช้แรงงานเด็ก ผู้บริโภค การแข่งขันทางการค้า และสิ่งแวดล้อม
  3. บริษัทยึดมั่นในความเป็นกลางทางการเมือง ไม่มีนโยบายสนับสนุน หรือช่วยเหลือทางการเงิน สิ่งของ และกิจกรรมใดๆ ของพรรคการเมือง หรือนักการเมืองใด เพื่อแลกกับสิทธิพิเศษหรือผลประโยชน์อันมิชอบทั้งทางตรงและทางอ้อมตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน เพื่อให้พนักงานดำเนินการอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  4. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อชุมชน สังคม

      บริษัทเคารพต่อสิทธิมนุษชนและการปฏิบัติอย่างเท่าทียมกันต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยสนับสนุนกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างประโยชน์สุขของชุมชนและสังคม โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทมีนโยบายในการดำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
  2. ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของชุมชนและสังคม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการยึดมั่นในการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งบริษัท
  3. บริษัทมีนโยบายที่จะยึดมั่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี เคารพกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนเพื่อให้เกิดความสงบสุขในชุมชน และสังคม
  4. ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมรอบชุมชน โดยการควบคุมดูแลการบริหารจัดการการกำจัดของเสีย ทั้งจากกระบวนการผลิตและการใช้งานทั่วไป รวมถึงสิ่งปนเปื้อนต่างๆ สู่สภาพแวดล้อมภายนอก โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมีการติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
  5. ส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบและพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคนในชุมชนและสังคมให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ดำรงอยู่เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีตลอดไป
  6. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม

      บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทได้ปฏิบัติตามนโยบาย คุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
  2. จัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของบริษัทเป็นไปตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  3. มีการควบคุมดูแลการบริหารจัดการการกำจัดของเสีย ทั้งจากกระบวนการผลิตและการใช้งานทั่วไป รวมถึงสิ่งปนเปื้อนต่างๆ สู่สภาพแวดล้อมภายนอก โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมีการติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
  4. ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน
  5. ส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรณรงค์การอนุรักษ์และการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
  6. เผยแพร่การดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมแก่ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ผ่านเว็บไซต์และรายงานความยั่งยืนของบริษัท
  7. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

หมวด 3 นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

บริษัทมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม และให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ดังนั้น กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัททุกคน จะต้องประพฤติ ปฏิบัติตนให้ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม จะไม่มีการเรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือ คนรู้จักในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม

คำนิยาม

      การทุจริต/คอร์รัปชัน (Corruption) หมายถึง การปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่ หรือ การใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอให้ สัญญาว่าจะให้ มอบให้ ให้คำมั่นว่าจะให้ การขอ หรือเรียกร้อง หรือรับ ซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสม กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือผู้มีหน้าที่ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจ หรือแนะนำธุรกิจให้กับบริษัทโดยเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้า ให้กระทำได้

วัตถุประสงค์

      คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารทุกระดับ และพนักงานทุกคนของบริษัท ตกลงร่วมกันที่จะดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความถูกต้องตามกฎหมาย หลักธรรมาธิบาลที่ดี และมีแนวทางปฏิบัติในการต่อต้าน และป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  1. คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้าน
    การทุจริตคอร์รัปชั่นและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
  2. คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุมเหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
  3. กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหาร มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบและให้การส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย
  4. กรรมการ และพนักงานทุกคน มีหน้าที่ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบายของบริษัท โดยจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่นำไปสู่การฝ่าฝืนนโยบายของบริษัท โดยบริษัทจะทำการสื่อสารให้พนักงานทุกคนรับทราบผ่านการจัดอบรมและการปฐมนิเทศน์ หรือจะติดประกาศภายในบริษัท หรือเปิดเผยนโยบายบนเว็บไซต์ของบริษัท รวมทั้งสื่อสารให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

แนวปฏิบัติ

  1. กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงานของบริษัททุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และจรรยาบรรณของบริษัทอย่างเคร่งครัด
  2. พนักงานบริษัท ไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชันการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ หากมีข้อสงสัย หรือข้อซักถามให้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของบริษัทผ่านช่องทางต่างๆ ที่บริษัทกำหนดไว้
  3. บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่ปฏิเสธหรือแจ้งเบาะแส หรือหลักฐานเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่บริษัทกำหนดไว้ในนโยบายการแจ้งข้อร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส
  4. ผู้ที่กระทำการทุจริตคอร์รัปชันภายใต้ชื่อของบริษัทถือเป็นการกระทำผิด ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

การร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน

บริษัท จะให้ความเป็นธรรม และคุ้มครองพนักงาน หรือบุคคลอื่นใดที่แจ้งเบาะแสหรือหลักฐานเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท รวมถึงพนักงานที่ปฏิเสธ ต่อการกระทำ โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชัน ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายการรับข้อร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน (Whistleblower Policy) ผู้ที่กระทำการทุจริต คอร์รัปชัน ถือเป็นการกระทำผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการบริหารงานบุคคล สำหรับพนักงาน ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยที่กำหนดไว้ รวมถึงอาจได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายด้วย

หมวด 4 นโยบายการรับ-ให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด, การเลี้ยงรับรอง, การบริจาค, การสนับสนุน, และการช่วยเหลือทางการเมือง

หลักการ

เพื่อให้พนักงานมีแนวทางในการยึดถือปฏิบัติเรื่องการบริจาคเพื่อการกุศล, เงินสนับสนุน, การรับ-ให้ของขวัญ การเลี้ยง หรือให้ประโยชน์อื่นใด และการช่วยเหลือทางการเมือง ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

การให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด

นโยบาย

พนักงานสามารถให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด ตามประเพณีนิยม หรือตามวาระโอกาสที่เหมาะสม และควรให้ในรูปแบบที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของบริษัท โดยการให้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และจารีตประเพณีท้องถิ่น และต้องไม่มีเจตนาเพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้รับกระทำการอันเป็นการอำนวยความสะดวกให้ หรือการกระทำให้บริษัทได้เปรียบคู่แข่งขัน หรือกระทำการให้บริษัททำผิดเป็นถูก ซึ่งบริษัทถือว่าเป็นการกระทำอันมิชอบ

แนวปฏิบัติ

  1. การให้ของขวัญ ของที่ระลึก ควรเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับบริษัท อาทิเช่น

        1.1 ปฏิทิน ไดอารี่ ปากกา แก้วน้ำ ดอกไม้ หนังสือ ภาพเขียน งานศิลปะ ฯลฯ

        1.2 สินค้าของบริษัท และบริษัทในกลุ่ม (Company Product)

        1.3 สินค้าที่ใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของบริษัท และบริษัทในกลุ่ม (Corporate Logo/Corporate Brand)

        1.4 สินค้าโครงการหลวง โครงการในพระราชดำริ สินค้าชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัท และบริษัทในกลุหรือสินค้าเพื่อการกุศล หรือ สาธารณประโยชน์หรือสินค้าที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  1. การให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด ควรดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
  2. ไม่ให้ของขวัญ ของที่ระลึก ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด แก่คู่สมรส บุตร หรือผู้เกี่ยวข้องของเจ้าหน้าที่รัฐ ลูกค้า คู่ค้า และบุคคลที่ติดต่อด้วย เนื่องจากโดยพฤติการณ์ถือว่าเป็นการรับแทน
  3. การให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด เนื่องในโอกาสสำคัญทางธุรกิจ อาทิ วันสถาปนาการจัดตั้งบริษัท และบริษัทในกลุ่ม การลงนามสัญญาทางธุรกิจ การจัดงานเลี้ยงเนื่องในวันเกิด วันแต่งงาน ฯลฯ สามารถกระทำได้ โดยมูลค่าของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด หากมีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท (ตามประกาศ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543) หน่วยงานผู้ให้จะต้องจัดทำแบบฟอร์มขออนุมัติการให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด, เงินสนับสนุน, สินค้าตัวอย่าง และต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติจากผู้บริหารระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไป
  4. หากของขวัญ ของที่ระลึก ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด มีมูลค่าเกินกว่า 3,000 บาท หน่วยงานผู้ให้จะต้องจัดทำแบบฟอร์มขออนุมัติการให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด, เงินสนับสนุน, สินค้าตัวอย่าง และบันทึกข้อความขออนุมัติอย่างชัดเจน พร้อมแนบเอกสารประกอบการพิจารณา เช่น ใบเสนอราคา รูปภาพ/รูปถ่ายของขวัญ เป็นต้น รวมทั้งเสนอพิจารณาอนุมัติจากผู้บริหารในระดับผู้ช่วยรองกรรมการผู้จัดการ หรือผู้บริหารในระดับที่สูงกว่าจากที่กล่าวข้างต้น

การรับของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด

นโยบาย

   พนักงานสามารถรับของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด ตามประเพณีนิยม หรือในวาระโอกาสต่างๆได้ เว้นแต่การรับของขวัญนั้น เป็นไปในรูปแบบเพื่อการทุจริต ติดสินบน หรือเจตนาอันมิชอบ ในการรับของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใดก็ตาม ขอให้พนักงานนำส่งให้กับแผนกธุรการ เพื่อทำการบันทึกเข้าระบบการรับของขวัญ ภายในของบริษัท ทั้งนี้ ของขวัญที่ทำการบันทึกเข้าระบบจะถูกนำมาพิจารณาแล้วแต่กรณีไป อาทิเช่น นำของขวัญที่ได้รับเพื่อนำไปบริจาคให้บุคคลหรือหน่วยงานภายนอก, นำของขวัญที่ได้รับเพื่อใช้ประโยชน์ภายในบริษัท หรือ นำของขวัญที่ได้รับเพื่อเป็นของขวัญจับฉลากให้กับพนักงานบริษัทในเทศกาลปีใหม่ เป็นต้น

แนวปฏิบัติ

  1. พนักงานจะต้องไม่รับของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด หรือสิ่งของที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย อันมีเจตนาโดยมิชอบ หรือส่งผลต่อการตัดสินใจในเชิงผลประโยชน์
  2. การรับของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด ที่ได้รับต้องนำส่งให้กับแผนกธุรการ พร้อมทั้งจัดทำ “แบบรายงานรับของขวัญ-ของกำนัล” เพื่อบันทึกเข้าระบบการรับของขวัญ ดังตัวอย่างต่อไปนี้   

        2.1 กรณีที่เป็นปากกา ปฏิทิน ไดอารี่ ที่ใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของบริษัท พนักงานสามารถรับเป็นของขวัญส่วนตัวได้ หรือแจกจ่ายให้กับหน่วยงานอื่นๆ โดยมิต้องจัดทำ “แบบรายงานรับของขวัญ-ของกำนัล” ให้บริษัททราบ

        2.2 กรณีเป็นของบริโภคซึ่งมีวันหมดอายุน้อยกว่า 1 เดือน ให้เป็นดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาส่วนงานที่ได้รับของขวัญในการบริหารจัดการ อาจแจกจ่ายในส่วนงานของตน หรือแบ่งสันปันส่วนให้หน่วยงานอื่นๆ โดยมิต้องจัดทำ “แบบรายงานรับของขวัญ-ของกำนัล” ให้บริษัททราบ

        2.3 กรณีเป็นการรับของขวัญ ของที่ระลึก ในนามองค์กรต่อองค์กร เช่น การลงนามสัญญาทางธุรกิจ สามารถรับไว้ได้ ทั้งนี้ ของขวัญ ของที่ระลึก ดังกล่าว จะต้องเป็นทรัพย์สินของบริษัท โดยผู้รับของขวัญจะต้องจัดทำ “แบบรายงานรับของขวัญ-ของกำนัล” และนำส่งของขวัญไปที่แผนกธุรการเพื่อควบคุมการเบิก-จ่ายของขวัญไว้ใช้ในโอกาสต่อไป

        2.4 กรณีการเบิก-จ่ายของขวัญ ของที่ระลึกจากแผนกธุรการ เพื่อใช้ในโอกาสอื่นๆ ผู้ขอเบิกต้องจัดทำแบบฟอร์มขออนุมัติการให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด, เงินสนับสนุน, สินค้าตัวอย่าง ให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ และต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจลงนาม

        2.5 พนักงานที่ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ และได้รับของขวัญจากคู่ค้า/ผู้ขาย ลูกค้า หรือผู้ร่วมทุนใดๆ หากไม่สามารถปฏิเสธการรับของขวัญจากต่างประเทศได้ ให้รับมา โดยผู้รับจะต้องจัดทำ “แบบรายงานรับของขวัญ-ของกำนัล” และส่งมอบแก่แผนกธุรการ เพื่อทำบันทึกรับเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทต่อไป

การเลี้ยงรับรอง

นโยบาย

      บริษัทตะหนักถึงความสำคัญของการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ดังนั้น การใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงรับรองในเชิงธุรกิจ อาทิเช่น การเลี้ยงรับรองเป็นอาหารและเครื่องดื่ม การเลี้ยงรับรองในรูปแบบการกีฬา กิจกรรมสันทนาการต่างๆ และการใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติทางธุรกิจ หรือ เป็นจารีตทางการค้า รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจทางธุรกิจ สามารถกระทำได้ แต่ต้องเป็นการใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล และไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของผู้รับการเลี้ยง หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัท ผู้รับการเลี้ยง หรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต้องเป็นไปตามตารางอำนาจการอนุมัติของบริษัทด้วย

แนปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเลี้ยงรับรองต้องได้รับการอนุมัติตามตารางอำนาจการอนุมัติของบริษัท โดยการเลี้ยงรับรองจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับของผู้ถูกรับการเลี้ยง หรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องด้วย
  2. ผู้ขออนุมัติต้องแสดงหลักฐานการเลี้ยงรับรองต่อเจ้าหน้าที่สายงานการเงินและบัญชี อาทิเช่น ใบเสร็จรับเงิน หนังสือขอบคุณ หรือหลักฐานประกอบอื่นๆ มาแสดงให้ผู้บังคับบัญชา และฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาและจัดเก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบต่อไป

การบริจาค

นโยบาย

บริษัทมีนโยบายให้ความช่วยเหลือ บริจาคแก่องค์กรสาธารณกุศล หรือให้การสนับสนุนแก่องค์กรต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินการจะต้องกระทำในนามของบริษัทเท่านั้น และในการบริจาคจะต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติโดยระดับผู้บริหาร เป็นต้นไป

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. การบริจาคต้องเป็นองค์กรที่เชื่อถือได้ และ/หรือมีการจัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่น มูลนิธิ องค์กรสาธารณะกุศลตามประกาศกระทรวงการคลัง วัด โรงพยาบาล สถานศึกษา หรือองค์กรทำประโยชน์เพื่อสังคม ที่มีใบรับรองสามารถตรวจสอบได้ เป็นต้น โดยที่ไม่หวังผลประโยชน์ทางการค้า หรือสิ่งอื่นใดเป็นการตอบแทน
  2. การบริจาคจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับบุคคล หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ยกเว้นการประกาศเกียรติคุณตามธรรมเนียมธุรกิจทั่วไป
  3. การบริจาคไม่ควรเป็นการจ่ายเงินตรงไปที่เจ้าหน้าที่รัฐบาล หรือให้กับบุคคลใดๆ เว้นแต่มีรายละเอียดระบุในหนังสือขอรับการสนับสนุนชัดเจน และมีหลักฐานการรับการสนับสนุนเป็นลายลักษณ์อักษร
  4. การบริจาค จะต้องมีใบอนุโมทนาบัตร ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับระเบียบของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคไม่ได้ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการกระทำอันเป็นการทุจริตคอร์รัปชัน

การให้เงินสนับสนุน และการสนับสนุนกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)

นโยบาย

การให้เงินสนับสนุน และการสนับสนุนกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) สามารถดำเนินการได้ และต้องเป็นการกระทำในนามของบริษัท ซึ่งต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และต้องพิสูจน์ได้ว่าการสนับสนุนดังกล่าวได้ดำเนินการจริง โดยจะต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ที่ดี และชื่อเสียงของบริษัทเป็นสำคัญ

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. การให้เงินสนับสนุน เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ทางธุรกิจและการขาย มีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ เผยแพร่ตราสินค้า ส่งเสริมการขาย ชื่อเสียงของบริษัท โดยไม่หวังผลประโยชน์หรือมีวัตถุประสงค์แอบแฝงอื่นที่เป็นการทุจริต หรือประพฤติโดยมิชอบ และผู้ดำเนินการขอเงินสนับสนุนจะต้องจัดทำเอกสารเพื่อขออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจอนุมัติตามตารางอำนาจอนุมัติ
  2. การจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) สามารถดำเนินการได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ตั้งแต่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่แข่ง รัฐบาล ชุมชน สังคม ตลอดจนสิ่งแวดล้อม และการจัดกิจกรรมดังกล่าวจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และจัดทำเอกสารเพื่อขออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจอนุมัติตามตารางอำนาจอนุมัติ
  3. การสนับสนุนโดยเงิน หรือการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับบุคคล หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ
  4. การสนับสนุนโดยเงิน หรือการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) จะต้องตรวจสอบได้ มีใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับระเบียบของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าการสนับสนุนดังกล่าวไม่ได้ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการกระทำอันเป็นการทุจริตคอร์รัปชัน

การให้ และรับข้อเสนอการประชุม อบรม สัมมนา เยี่ยมชมกิจการ และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ โดยใช้งบประมาณของบริษัท หรือคู่ค้า

นโยบาย

การให้ และรับข้อเสนอการประชุม อบรม สัมมนา เยี่ยมชมกิจการ และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ โดยใช้งบประมาณของบริษัท หรือคู่ค้า สามารถกระทำได้ หากเป็นไปตามข้อตกลงที่ระบุในสัญญา แต่ต้องไม่มีลักษณะแฝงการท่องเที่ยว ในกรณีที่ไม่ได้ระบุในข้อตกลงตามสัญญา สามารถกระทำได้ หากพิจารณาแล้วว่าการให้ และรับข้อเสนอ ดังกล่าวมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท และบริษัทในกลุ่ม ทั้งนี้ ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาและเป็นไปตามระเบียบของบริษัท และบริษัทในกลุ่ม

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. ผู้ให้ และรับข้อเสนอการประชุม อบรม สัมมนา เยี่ยมชมกิจการ และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ โดยใช้งบประมาณของบริษัท หรือคู่ค้า ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา โดยจะต้องระบุรายละเอียด วัตถุประสงค์ สถานที่ หน่วยงานที่เรียนเชิญ พร้อมแนบเอกสารประกอบการพิจารณา เช่น จดหมายเชิญประชุม การ์ดเชิญ ใบโฆษณาอบรม/สัมมนา เป็นต้น นำเสนอ แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานรับทราบ
  2. การรับประโยชน์จากการจับฉลากของรางวัล ในกรณีที่ไปร่วมการประชุม อบรม สัมมนา เยี่ยมชมกิจการ และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ มีการเล่นเกมส์แจกของรางวัล หรือจับฉลากของรางวัล ผู้เข้ารับข้อเสนอการประชุม อบรม สัมมนา เยี่ยมชมกิจการ และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ สามารถรับของรางวัลนั้นไว้ได้ เนื่องจากไม่ได้เป็นการให้เฉพาะเจาะจง ถือเป็นการให้ในลักษณะให้แก่บุคคนทั่วไป
  3. ไม่ให้ และรับข้อเสนอเกี่ยวกับการอบรม สัมมนา ที่มีลักษณะแฝงท่องเที่ยว โดยปราศจากเจตนาในการถ่ายทอดความรู้อย่างแท้จริง

การช่วยเหลือทางการเมือง

นโยบาย

      บริษัทมีนโยบายดำเนินธุรกิจอย่างเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง นักการเมือง หรือพรรคการเมืองใดๆ บริษัทเป็นองค์กรที่ยึดมั่นในความเป็นกลางทางการเมือง สนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมาย และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย บริษัทไม่มีนโยบายสนับสนุนหรือช่วยเหลือทางการเงิน สิ่งของ และกิจกรรมใดๆของพรรคการเมืองหรือนักการเมืองใด เพื่อแลกกับสิทธิพิเศษหรือผลประโยชน์อันมิชอบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองสามารถเข้าร่วมได้ตามสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่ไม่มีสิทธิ์ในการแอบอ้างความเป็นพนักงานบริษัท หรือนำทรัพย์สิน อุปกรณ์ เครื่องมือใดๆ ของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ในเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง

  1. ไม่ควรแสดงออกด้วยวิธีใดๆ ที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าบริษัท มีความเกี่ยวข้อง ฝักใฝ่ หรือให้การสนับสนุนการดำเนินการทางการเมือง
  2. ไม่แต่งกายด้วยเครื่องแบบพนักงานหรือใช้สัญลักษณ์ใดที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่าเป็นพนักงานของบริษัท ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง
  3. ไม่แอบอ้างตำแหน่งหน้าที่การงาน การเป็นพนักงานของบริษัท เพื่อความน่าเชื่อถือในการหาแนวร่วมในการแสดงออกทางการเมือง
  4. หลีกเลี่ยงการแสดงออก หรือ แสดงความคิดเห็นทางการเมืองในสถานที่ทำงานหรือในเวลางานอันอาจทำให้เกิดความขัดแย้งในการทำงาน

หมวด 5 การรับข้อร้องเรียนหรือรับแจ้งเบาะแสและมาตรการคุ้มครอง

การรักษาความลับ

บริษัทยึดมั่นและตระหนักในการรักษาความลับให้กับพนักงาน หรือผู้ร้องเรียนว่าข้อร้องเรียนของตนจะได้รับการตอบสนองอย่างจริงจัง และพนักงาน หรือผู้รายงานจะไม่ได้รับความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากการรายงานข้อร้องเรียนโดยสุจริต ข้อมูลการเปิดเผยตัวของพนักงานจะถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับเสมอ อย่างไรก็ตาม ในการร้องเรียน พนักงานควรรวบรวมข้อมูลด้วยความระมัดระวังและคำนึงถึงความถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผย

อนึ่ง บุคคลใดที่ได้รับทราบเรื่องร้องเรียน หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนนี้ จะต้องปกป้องข้อมูลเรื่องร้องเรียน หรือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนให้เป็นความลับ และไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้แจ้งข้อร้องเรียน แหล่งที่มาของข้อมูล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่กรณีที่มีความจำเป็นในขั้นตอนการดำเนินการตามระเบียบของบริษัท หรือตามที่กฎหมายกำหนด หากมีการจงใจฝ่าฝืนนำข้อมูลออกไปเปิดเผย บริษัทจะดำเนินการลงโทษทางวินัย และ/หรือดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ฝ่าฝืน แล้วแต่กรณี

การคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียน

บริษัท มีนโยบายที่จะสนับสนุนการร้องเรียนของผู้ร้องเรียนบนหลักสุจริต และจะปกป้องสิทธิของผู้ร้องเรียนด้วยหลักปฏิบัติอย่างเป็นธรรม

การแจ้งข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ

ผู้ร้องเรียนย่อมตระหนักและเข้าใจเป็นอย่างดีว่าการร้องเรียนจะต้องกระทำโดยสุจริต หากผู้ร้องเรียนมีเจตนากลั่นแกล้ง หรือร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จหรือมีเจตนาไม่สุจริตต่อผู้ถูกร้องเรียน บริษัทจะถือว่าการร้องเรียนดังกล่าวเป็นการละเมิดจริยธรรมธุรกิจ ทั้งนี้ บริษัทจะจัดให้มีการดำเนินการตามขั้นตอนของบริษัท หรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องเรียนตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี ต่อไป

บทลงโทษ

ผู้ใดกระทำการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ไม่ปฏิบัติตามนโยบายนี้ รวมทั้งมีพฤติกรรมกลั่นแกล้งข่มขู่ ลงโทษทางวินัย หรือเลือกปฏิบัติ ด้วยวิธีการอันไม่ชอบเนื่องมาจากการร้องเรียนต่อผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนตามนโยบายนี้ ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย และต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายแก่บริษัท หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าว ตลอดจนอาจต้องรับผิดในทางกฎหมายต่อไปด้วย

ขั้นตอนการแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ

การร้องเรียนให้ทำเป็นหนังสือและมีรายละเอียดของการร้องเรียน ดังต่อไปนี้

  1. ชื่อ และนามสกุล หมายเลขโทรศัพท์และ E-mail ของผู้ร้องเรียน
  2. ชื่อ และนามสกุล ผู้ถูกร้องเรียน และที่อยู่ของผู้ถูกร้องเรียน (ถ้ามี)
  3. วัน เดือน ปี ที่ร้องเรียน
  4. วัน เดือน ปี และสถานที่ที่ผู้ร้องเรียนพบเห็นพฤติกรรม หรือเหตุการณ์
  5. ข้อเท็จจริงและการกระทำของผู้ถูกร้องเรียนที่ผู้ร้องเรียนเห็นว่าอยู่ในขอบเขตของเรื่องร้องเรียน
  6. เอกสารหลักฐานประกอบการร้องเรียน (ถ้ามี)
  7. ดำเนินการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน
  • แจ้งผ่านช่องทางกล่องแสดงความคิดเห็นของบริษัท ณ จุดบริเวณทางเดินเข้า-ออก
    ทั้งที่สำนักงานใหญ่ และโรงงาน
  • แจ้งผ่านช่องทางอีเมล์ของ “ฝ่ายตรวจสอบภายใน” มาที่อีเมล์: internalaudit@sherwood.co.th

      หรือช่องทางอีเมล์ของ “ฝ่ายเลขานุการบริษัท” มาที่อีเมล์: companysecretary@sherwood.co.th

  • จดหมายปิดผนึก และจ่าหน้าซองถึง “ฝ่ายตรวจสอบภายใน” หรือ “ฝ่ายเลขานุการบริษัท” มายัง

      ที่อยู่: บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

      1065 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กทม. 10250

ขั้นตอนการพิจารณาข้อร้องเรียนหรือเบาะแส

  1. 1ข้อร้องเรียนหรือเบาะแสที่ได้รับแจ้งจะถือเป็นความลับ และจะไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ร้องเรียนต่อสาธารณชน หากไม่ได้รับความยินยอม รวมทั้งผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือแหล่งที่มาของข้อมูลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง จะได้รับความคุ้มครองสิทธิโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
  2. อาจมีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และแจ้งความคืบหน้าให้ผู้ร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแสทราบ
  3. หากการสืบสวนข้อเท็จจริง พบว่า ข้อมูลหรือหลักฐานที่มีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาได้กระทำการ ทุจริตและคอร์รัปชั่นจริง บริษัท จะให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาและให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ ตนเอง โดยการหาข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำอันทุจริต และคอร์รัปชั่น ตามที่ได้ถูกกล่าวหา
  4. 4. หากผู้ถูกกล่าวหา ได้กระทำความผิดจริง ถือว่าการกรทำดังกล่าวเป็นการกระทำผิดต่อนโยบาย และข้อบังคับของบริษัท ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับบริษัท ที่ได้กำหนดไว้ และหากการกระทำนั้น เป็นการกระทำอันผิดด้วยกฎหมาย ผู้กระทำผิดอาจจะต้องได้รับโทษทางกฎหมายอีกด้วย

มาตรการการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแส

  1. บริษัท จะเก็บข้อมูลของผู้ร้องเรียนและผู้ถูกร้องเรียนไว้เป็นความลับ และจะเปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้ร้องเรียน
  2. ผู้ร้องเรียนสามารถร้องขอให้บริษัท กำหนดมาตรการคุ้มครองได้ตามความเหมาะสม หรือบริษัท อาจกำหนดมาตรการคุ้มครองให้แก่ผู้ร้องเรียนโดยที่ไม่ต้องร้องขอ กรณีพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเสี่ยงที่ผู้ร้องเรียนจะได้รับความไม่ปลอดภัยหรือความเสียหาย
  3. บริษัท จะไม่กระทำการใดๆ อันไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ลักษณะงาน สถานที่ทำงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้าง เป็นต้น

หมวด 6 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท

บริษัทมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส และสุจริต โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญ ภายใต้ความถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม ดังนั้น กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ต้องยึดถือประโยชน์สูงสุดของบริษัท ภายใต้ความถูกต้องของกฎหมาย และจริยธรรมโดยหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะส่งผลกระทบในการตัดสินใจใดๆต่อบริษัท

นโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจะต้องกระทำการใดๆด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และยึดถือผลประโยชน์ของบริษัทเป็นสำคัญ โดยพึงหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และอาจส่งผลกระทบต่อบริษัท ทั้งนี้หากเห็นการกระทำใดที่อาจเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้นให้รีบแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลโดยด่วน

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับตนเอง ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ในกรณีที่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันภายใต้ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียนอย่างเคร่งครัด
  2. กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปเป็นกรรมการหุ้นส่วน หรือที่ปรึกษาไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในบริษัท หรือองค์กรทางธุรกิจอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นการแข่งขัน หรือขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อบริษัท
  3. กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การอนุมัติหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำใดๆ ที่ตนมีส่วนที่จะได้รับผลประโยชน์
  4. พนักงานไม่พึงประกอบการ ดำเนินการ หรือลงทุนใดๆ อันเป็นการแข่งขัน หรืออาจเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท
  5. ต้องไม่ใช้ทรัพย์สินของบริษัท อาทิ ทรัพย์สิน เวลา เงินทุน ความลับ ทรัพย์สินทางปัญญาหรือข้อมูลข่าวสาร คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ และชื่อบริษัท เพื่อการดำเนินกิจกรรมหรือธุรกิจภายนอกบริษัท โดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจ
  6. การรับงานทางวิชาการ เป็นวิทยากร งานบริการสาธารณะ และการรับตำแหน่งใดๆภายนอกบริษัท ลักษณะงานที่เป็นการช่วยขยายวิสัยทัศน์และประสบการณ์ให้แก่บุคลากรนั้น ให้ขออนุมัติจากผู้มีอำนาจ แต่จะต้องไม่นำเอาบริษัท หรือตำแหน่งของตนในบริษัทไปใช้อ้างอิงเพื่อส่งเสริมกิจกรรมที่ทำภายนอก

นโยบายการรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้ประโยชน์ส่วนตน และการให้ข้อมูลข่าวสารต่อบุคคลภายนอกอันจะนำมาซึ่งผลเสียหายที่จะเกิดต่อธุรกิจ และชื่อเสียงของบริษัท กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทมีหน้าที่อย่างเคร่งครัดในการเก็บรักษาข้อมูลภายในและทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทไว้เป็นความลับ โดยได้จัดทำนโยบาย และแนวทางในการปฏิบัติในนโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

  • การรักษาความลับ และการใช้ข้อมูลภายใน

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีหน้าที่อย่างเคร่งครัดในการเก็บรักษาข้อมูลภายในบริษัทไว้เป็นความลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ หรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือราคาหุ้น

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีหน้าที่รักษาความลับทางการค้า สูตรลับทางการค้า กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการประกอบธุรกิจให้เป็นความลับ และป้องกันมิให้ข้อมูลเหล่านั้นรั่วไหล
  2. ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ เช่น สถานะบุคคล ชีวประวัติ ประวัติการทำงาน ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลสำหรับการติดต่อ ข้อมูลสุขภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ต้องได้รับความคุ้มครองไม่ให้ถูกใช้ เปิดเผย หรือถ่ายโอนไปยังบุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมาย
  3. ไม่ใช้โอกาสหรือข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานในการหาประโยชน์ส่วนตนและในเรื่องการทำธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัท หรือทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
  4. ไม่ใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนในการซื้อขายหุ้นของบริษัท หรือให้ข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นของบริษัท
  5. ไม่เปิดเผยข้อมูลความลับทางธุรกิจของบริษัท ต่อบุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งขัน แม้หลังพ้นสภาพการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทไปแล้ว
  6. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคู่สัญญา และข้อตกลงที่มีไว้กับคู่สัญญา ถือเป็นความลับที่ไม่อาจเปิดเผยให้บุคคลอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากบริษัท และคู่สัญญาเท่านั้น
  • การดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท

บริษัทตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และคำนึงถึงทรัพย์สินของบริษัท บริษัทจึงส่งเสริมให้พนักงานทุกคนใช้ทรัพยากรและทรัพย์สินของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้ง พนักงานจะต้องดูแลรักษาทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท ประกอบด้วย ชื่อบริษัท โลโก้ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า ขั้นตอนทำงาน และ นวัตกรรม ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าของบริษัทมิให้ถูกนำไปใช้ หรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต และจะต้องไม่ละเมิดในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นเช่นกัน

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. จะต้องใช้ทรัพย์สินและทรัพยากรของบริษัทอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด
  2. จะต้องช่วยกันดูแลรักษามิให้ทรัพย์สินใดๆ ของบริษัทสื่อมค่าหรือสูญหายโดยมิชอบ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือเพื่อบุคคลอื่น
  3. รักษาและคุ้มครองสิทธิทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ประกอบด้วยความลับทางการค้า เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์ต่างๆ การนำข้อมูลเหล่านี้ อันเป็นความลับของบริษัท คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เผยแพร่เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการกระทำผิดนโยบายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา และอาจเป็นการกระทำผิดกฎหมายและอาจต้องโทษทั้งทางแพ่งและอาญา
  4. จะต้องเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นไม่นำผลงานของผู้อื่นแม้เพียงบางส่วนไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตนโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือให้ค่าตอบแทนแก่เจ้าของงานเสียก่อน
  5. รายงานต่อผู้บังคับบัญชาเมื่อพบเห็นการกระทำที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หรืออาจนำไปสู่การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หรือการกระทำที่อาจก่อให้เกิดข้อพิพาทใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท หรือของบุคคลอื่น
  6. การจัดทำเอกสารจะต้องจัดทำเอกสารต่างๆ ด้วยความสุจริต รอบคอบ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
  7. ห้ามมิให้ปลอมแปลงหนังสือ รายงาน หรือเอกสารของบริษัท
  8. การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและสารสนเทศต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานถือเป็นทรัพย์สินของบริษัท ผู้บริหารและพนักงานไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
  9. ห้ามผู้บริหารและพนักงานเปิดเผยข้อมูล และรหัสผ่าน (Password) หรือรหัสใดๆของบริษัทที่ใช้ในการเข้าถึงระบบข้อมูลของบริษัทแก่ผู้อื่น
  10. ห้ามผู้บริหารและพนักงานปรับแต่งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ หรือติดตั้งอุปกรณ์ใดๆ ที่นอกเหนือจากอุปกรณ์มาตรฐานที่บริษัท ติดตั้งให้
  11. ห้ามผู้บริหารและพนักงานใช้อีเมลหรือระบบคอมพิวเตอร์ใดๆของบริษัท ในการส่งต่อข้อความที่กล่าวร้าย ทำให้เสื่อมเสียหรือข้อความที่หยาบคาย ลามก ข่มขู่ ก่อกวน หรือสร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น
  12. ผู้บริหารและพนักงานควรใช้อินเทอร์เน็ตในการแสวงหาข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และจะต้องหลีกเลี่ยงเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมายหรือละเมิดศีลธรรมอันดีงาม
  13. ผู้บริหารและพนักงานควรใช้อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ที่บริษัทจัดให้ อาทิ โทรศัพท์ โทรสาร โทรศัพท์มือถือ และวิทยุติดตามตัวอย่างมีจิตสำนึกและรับผิดชอบ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัท เป็นหลัก

หมวด 7 การเปิดเผย และการสื่อสารข้อมูล

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทควรเปิดเผยข้อมูล และสื่อสารข้อมูลของบริษัทด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน เท่าเทียมกัน และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) การสื่อสารทางการตลาดภายใต้ตราสินค้าของบริษัท และการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์จะต้องกระทำด้วยความเหมาะสม ถูกต้องตามความเป็นจริง

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. การเปิดเผยข้อมูลที่อาจมีผลกระทบใดๆ ต่อบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสีย ต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจโดยตรงในเรื่องนั้นๆ เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจในเรื่องนั้นๆ
  2. การเปิดเผยข้อมูลจะต้องระมัดระวังมิให้เกิดผลกระทบต่อบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสีย
  3. ห้ามใช้วิธีการสื่อสารทางการตลาดที่เป็นการเปรียบเทียบโดยตรงกับสินค้า หรือบริการของคู่แข่ง
  4. ไม่นำเสนอสิ่งที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เช่น สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ การเมือง ความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความคิดเห็นเรื่องเพศ หรือเรื่องที่ขัดต่อศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  5. ในกรณีที่พบข้อมูล ข่าวสารที่กล่าวพาดพิงถึงบริษัท หรือการปฏิบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อตราสินค้าของบริษัทอย่างไม่เหมาะสม ให้รีบแจ้งหน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือผู้บังคับบัญชาทันที

หมวด 8 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน โดยบริษัทส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกให้พนักงานทุกคนรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานของบริษัทให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ และปลอดภัย

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. บริษัทจะดำเนินการเพื่อควบคุม และป้องกันการสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ อัคคีภัย และความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน ตลอดจนรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย
  2. บริษัทจะดำเนินการด้านความปลอดภัยทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิต และสุขภาพอนามัยของพนักงาน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์สินของบริษัท
  3. บริษัทถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและพนักงานทุกคนในการรายงานการเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งการปฏิบัติตามขั้นตอน หรือ กระบวนการต่างๆอย่างเคร่งครัด
  4. ผู้บริหารและพนักงานต้องดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างมีระบบ และถือเป็นส่วนหนึ่งของงาน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ป้องกันการสูญเสีย และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
  5. ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย นโยบาย กฎระเบียบ ข้อกำหนด มาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัท ว่าด้วยความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

บริษัทจะทบทวนและประเมินระบบการดำเนินงาน ด้านความปลอดภัยเป็นระยะๆ เพื่อนำมาวางแผนในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Code of Conduct

คู่มือจริยธรรม และจรรยาบรรณธุรกิจ

Code of Conduct

จริยธรรม และจรรยาบรรณธุรกิจ คือ มาตรฐานการประพฤติปฏิบัติที่ดี กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ทุกท่าน ซึ่งรวมถึงกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือปฏิบัติที่จะป้องกันการประพฤติปฏิบัติในทางที่ผิดหรือทำให้เสื่อมเสีย ซึ่งจะสะท้อนให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อบริษัท จริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นการประมวลแบบแผน ขอบเขตมาตรฐานความประพฤติ และพฤติกรรมที่พนักงานทุกคนของบริษัท พึงใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปในวิถีทางเดียวกัน ดังนั้น จรรยาบรรณธุรกิจฉบับนี้ใช้สำหรับทุกท่าน ซึ่งรวมถึงกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน ของบริษัทและบริษัทย่อยของบริษัททั้งหมด ขอให้ทุกท่านพิจารณาปรับใช้ให้เข้ากับบริบททางธุรกิจและผ่านกระบวนการอนุมัติภายใน ตามหลักธรรมาภิบาล ของแต่ละบริษัท

หมวด 1 การเคารพกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชน

คณะกรรมการบริษัท ยึดมั่นให้พนักงานทุกคนเคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดจนขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น พร้อมทั้งการเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย และมาตรฐานสากล โดยบริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติต่อพนักงาน บริษัทย่อย และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของบริษัทอย่างเป็นธรรม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ รวมทั้งการรักษาสิทธิมนุษยชนของพนักงานตามที่กฎหมายแรงงาน และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นธรรม

แนวปฏิบัติ

  1. ให้ความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างในทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม และการให้สิทธิเท่าเทียมต่อคนพิการ
  2. ดูแล รักษาข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน ไม่เปิดเผยข้อมูลอันเป็นส่วนบุคคลสู่สาธารณชน ก่อนได้รับความเห็นชอบจากผู้นั้น
  3. ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ
    ให้ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน
  4. บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองบุคคลที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  5. ผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณของบริษัท จะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้ และอาจจะได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

หมวด 2 นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย

การดำเนินธุรกิจของบริษัท ย่อมเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า หน่วยราชการ ตลอดจน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม  ดังนั้น บริษัทตระหนักและเคารพสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินธุรกิจของบริษัท อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า หน่วยราชการ ตลอดจน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทได้จัดทำ “นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย” เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียดังกล่าวตามกฎหมาย เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ โดยการเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นในระยะยาวพร้อมไปกับการคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของบริษัทด้วย

ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) หมายถึง

บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยทางตรง หรือทางอ้อม หรือมีผลประโยชน์ใด ๆ กับการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือมีอิทธิพลเหนือบุคคลใดที่อาจทำให้เกิดผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า หน่วยราชการ ตลอดจน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

นโยบายการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น

      บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท จึงกำหนดให้กรรมการในฐานะเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้น รวมทั้งผู้บริหารและพนักงานของบริษัท มีหน้าที่ต้องดำเนินธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทได้ปฏิบัติหน้าที่ภายในขอบเขตของกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติคณะกรรมการ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความซื่อสัตย์ (Duty of Loyalty) ความระมัดระวัง (Duty of Care) มีความรับผิดชอบ (Accountability) และมีจริยธรรม (Ethics) โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน  
  2. เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิในการเสนอระเบียบวาระ เสนอชื่อบุคคลเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ และเสนอคำถามล่วงหน้าก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น
  3. ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องให้ผู้ถือหุ้นตัดสินใจในที่ประชุมเป็นการล่วงหน้าอย่างเพียงพอ
  1. เปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงินของบริษัทที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา ตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสื่อสารนโยบาย แนวทางการบริหารจัดการ รวมถึงผลการดำเนินงาน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  2. ดูแลไม่ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใช้โอกาสจากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานบริษัท แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน โดยนำข้อมูลภายในของบริษัทที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก หรือดำเนินการใดในลักษณะที่อาจก่อนให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
  3. บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม และเพียงพอที่จะปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น
  4. จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยติดต่อผ่านเว็บไซต์และนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัท
  5. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อพนักงาน

      บริษัทตระหนักว่าพนักงานเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบรรลุเป้าหมายของบริษัท จึงปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมบนหลักสิทธิมนุษยชนตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเคร่งครัด
  2. บริษัทให้ความสำคัญต่อการเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ เพศ อายุ พื้นฐานการศึกษา และการให้สิทธิเท่าเทียมต่อคนพิการ รวมทั้งการรักษาสิทธิมนุษยชนของพนักงานตามที่กฎหมายแรงงานและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นธรรม
  3. จัดให้มีกระบวนการจ้างงาน และเงื่อนไขการจ้างงานที่เป็นธรรม รวมทั้งให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม และเหมาะสมตามความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
  4. จัดให้มีสวัสดิการตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ประกันสังคม เป็นต้น และนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด เช่น ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ เป็นต้น รวมทั้งการให้เงินช่วยเหลือประเภทต่างๆ ให้กับพนักงาน เช่น ทุนการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือสมรส และเงินช่วยฌาปนกิจ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อให้มีความมั่นคง และเป็นผลประโยชน์ระยะยาวให้กับพนักงาน
  5. จัดให้มีการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับองค์กรได้ และมีการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ทุกครั้ง
  6. ส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกในเรื่องการทำงานด้วยความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ และจัดให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีความปลอดภัย ถูกสุขอนามัยตามมาตรฐาน เพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และมีสุขอนามัยในสถานที่ทำงานที่ดี
  7. การแต่งตั้ง และการโยกย้ายพนักงาน รวมถึงการให้รางวัลและการลงโทษพนักงาน กระทำด้วยความสุจริตใจ และตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมของพนักงาน
  8. ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการให้ความเห็น และเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชาบนพื้นฐานตามความสามารถและความรู้ทางวิชาชีพ
  9. บริษัทจะให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลการดำเนินงานและสถานภาพของบริษัทให้พนักงานทราบอย่างสม่ำเสมอ
  10. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อลูกค้า

      บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะให้ผู้ใช้สินค้าและบริการได้รับประโยชน์และความพึงพอใจอย่างสูงสุด ทั้งด้านคุณภาพและราคาที่เป็นธรรม ตลอดจนมุ่งพัฒนาและรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืน โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทมุ่งเน้นสินค้าให้มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม ตลอดจนมุ่งมั่นสร้างนวัตกรรม วิจัยและพัฒนาคุณภาพของสินค้าและการบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งด้านคุณภาพ ราคา และความปลอดภัยเป็นสำคัญ
  2. บริษัทให้ความเอาใจใส่ในทุกๆ ขั้นตอนการผลิต เริ่มตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบคุณภาพจนถึงการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพตรงตามความคาดหวังของลูกค้าภายใต้เงื่อนไขและราคาที่เป็นธรรม รวมทั้ง บริษัทให้ความสำคัญของความปลอดภัยในการใช้สินค้าของบริษัท โดยสินค้าของบริษัทจะต้องมีเอกสารกำกับสินค้า
  3. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าและบริการของบริษัทที่ถูกต้อง เพียงพอ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจ
  4. บริษัทได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้กับลูกค้าอย่างถูกต้องครบถ้วน และไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดหรือผิดสัญญากับลูกค้า รวมทั้ง มีระบบการจัดเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้าอย่างปลอดภัย และจะไม่นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์โดยทางมิชอบ
  5. จัดให้มีบริการหลังการขาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. จัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียน หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสินค้าของบริษัทจากลูกค้า เพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากที่สุด รวมทั้งมีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นประจำทุกปี เพื่อนำข้อเสนอแนะหรือข้อร้องเรียนมาปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการของบริษัท
  7. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้

      บริษัทมีนโยบายที่จะให้การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้เป็นธรรม มีความรับผิดชอบ และโปร่งใส โดยปฏิบัติตามสัญญาและเงื่อนไขทางการค้าที่ตกลงกันและพันธะทางการเงินไว้อย่างเคร่งครัด โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทได้ปฏิบัติตามสัญญาและเงื่อนไขทางการค้าที่ตกลงกันและพันธะทางการเงินไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัตถุประสงค์ของการใช้เงิน การชำระคืน เงื่อนไขการค้ำประกัน การบริหารเงินทุน และเรื่องอื่นใดที่ได้มีการข้อตกลงกันไว้กับเจ้าหนี้ เพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน
  2. บริษัทมุ่งมั่นในการรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับเจ้าหนี้ และให้ความเชื่อถือซึ่งกันและกัน ตลอดจนไม่ใช้วิธีการที่ไม่สุจริต ปกปิดข้อมูล หรือข้อเท็จจริงอันจะทำให้เจ้าหนี้เกิดความเสียหาย
  3. เมื่อมีเหตุสำคัญอันอาจกระทบต่อสถานะการเงิน โดยมีนัยสำคัญและอาจกระทบต่อหนี้ที่ต้องชำระ บริษัทจะแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบโดยเร็ว เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยใช้หลักความสมเหตุสมผล
  4. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อคู่ค้า

      บริษัทมีนโยบายที่จะให้การปฏิบัติต่อต่อคู่ค้าทุกรายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท และปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้กับคู่ค้าอย่างเคร่งครัด โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทมีวิธีการคัดเลือกคู่ค้าที่มีความชัดเจน โปร่งใส ยุติธรรม ตามนโยบายจัดซื้อจัดจ้างของบริษัท
  2. บริษัทได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้กับคู่ค้าอย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดได้ บริษัทจะแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบโดยเร็ว เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยใช้หลักความสมเหตุสมผล
  3. มีการสร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจที่ดีต่อ รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในการผลิตและบริการให้ได้มาตรฐาน
  4. บริษัทให้ความสำคัญในการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอ และไม่นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
  5. สนับสนุนให้คู่ค้าของบริษัทให้ความร่วมมือในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในทางการค้ากับคู่ค้า เพื่อเป็นการป้องกันการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นธรรม
  6. หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าที่คู่ค้าละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
  7. ดูแลและช่วยเหลือคู่ค้าให้สามารถดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับธุรกิจของบริษัท โดยไม่เอาเปรียบทางการค้า
  8. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า

      บริษัทมีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าภายใต้กรอบการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม ไม่ละเมิดความลับ หรือล่วงรู้ความลับทางการค้าของคู่ค้าด้วยวิธีฉ้อฉล โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทได้ปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าภายใต้กรอบการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม ไม่ใส่ร้ายป้ายสี ไม่โจมตีคู่แข่งโดยปราศจากข้อมูลและเหตุผล
  2. ให้การสนับสนุนการร่วมมือกับคู่แข่งทางการค้าที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า
  3. ไม่ล่วงละเมิดความลับ หรือแสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีทุจริต
  4. ไม่ทำลายชื่อเสียงและความสัมพันธ์กับคู่แข่งทางการค้า รวมถึงไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หรือคู่แข่งทางการค้า
  5. ในกรณีที่บริษัทเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดในสินค้าใด ต้องไม่ใช้อำนาจเหนือตลาดดังกล่าวในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมในทางการค้า
  6. บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม และเพียงพอที่จะปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น
  7. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อหน่วยราชการ

      บริษัทให้ความสำคัญกับหน่วยงานราชการในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย โดยบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายภาษี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่ทางภาครัฐกำหนด
  2. บริษัทไม่มีการปฏิบัติใดที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน การจ้างงาน การใช้แรงงานเด็ก ผู้บริโภค การแข่งขันทางการค้า และสิ่งแวดล้อม
  3. บริษัทยึดมั่นในความเป็นกลางทางการเมือง ไม่มีนโยบายสนับสนุน หรือช่วยเหลือทางการเงิน สิ่งของ และกิจกรรมใดๆ ของพรรคการเมือง หรือนักการเมืองใด เพื่อแลกกับสิทธิพิเศษหรือผลประโยชน์อันมิชอบทั้งทางตรงและทางอ้อมตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน เพื่อให้พนักงานดำเนินการอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  4. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อชุมชน สังคม

      บริษัทเคารพต่อสิทธิมนุษชนและการปฏิบัติอย่างเท่าทียมกันต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยสนับสนุนกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างประโยชน์สุขของชุมชนและสังคม โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทมีนโยบายในการดำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
  2. ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของชุมชนและสังคม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการยึดมั่นในการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งบริษัท
  3. บริษัทมีนโยบายที่จะยึดมั่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี เคารพกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนเพื่อให้เกิดความสงบสุขในชุมชน และสังคม
  4. ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมรอบชุมชน โดยการควบคุมดูแลการบริหารจัดการการกำจัดของเสีย ทั้งจากกระบวนการผลิตและการใช้งานทั่วไป รวมถึงสิ่งปนเปื้อนต่างๆ สู่สภาพแวดล้อมภายนอก โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมีการติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
  5. ส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบและพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคนในชุมชนและสังคมให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ดำรงอยู่เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีตลอดไป
  6. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

นโยบายการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม

      บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทได้ปฏิบัติตามนโยบาย คุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
  2. จัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของบริษัทเป็นไปตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  3. มีการควบคุมดูแลการบริหารจัดการการกำจัดของเสีย ทั้งจากกระบวนการผลิตและการใช้งานทั่วไป รวมถึงสิ่งปนเปื้อนต่างๆ สู่สภาพแวดล้อมภายนอก โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมีการติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
  4. ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน
  5. ส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรณรงค์การอนุรักษ์และการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
  6. เผยแพร่การดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมแก่ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ผ่านเว็บไซต์และรายงานความยั่งยืนของบริษัท
  7. บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ในเรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยบริษัทได้มีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และบริษัทยังมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสด้วย

หมวด 3 นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

บริษัทมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม และให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ดังนั้น กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัททุกคน จะต้องประพฤติ ปฏิบัติตนให้ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม จะไม่มีการเรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือ คนรู้จักในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม

คำนิยาม

      การทุจริต/คอร์รัปชัน (Corruption) หมายถึง การปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่ หรือ การใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอให้ สัญญาว่าจะให้ มอบให้ ให้คำมั่นว่าจะให้ การขอ หรือเรียกร้อง หรือรับ ซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสม กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือผู้มีหน้าที่ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจ หรือแนะนำธุรกิจให้กับบริษัทโดยเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้า ให้กระทำได้

วัตถุประสงค์

      คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารทุกระดับ และพนักงานทุกคนของบริษัท ตกลงร่วมกันที่จะดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความถูกต้องตามกฎหมาย หลักธรรมาธิบาลที่ดี และมีแนวทางปฏิบัติในการต่อต้าน และป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  1. คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้าน
    การทุจริตคอร์รัปชั่นและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
  2. คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุมเหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
  3. กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหาร มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบและให้การส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย
  4. กรรมการ และพนักงานทุกคน มีหน้าที่ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบายของบริษัท โดยจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่นำไปสู่การฝ่าฝืนนโยบายของบริษัท โดยบริษัทจะทำการสื่อสารให้พนักงานทุกคนรับทราบผ่านการจัดอบรมและการปฐมนิเทศน์ หรือจะติดประกาศภายในบริษัท หรือเปิดเผยนโยบายบนเว็บไซต์ของบริษัท รวมทั้งสื่อสารให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

แนวปฏิบัติ

  1. กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงานของบริษัททุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และจรรยาบรรณของบริษัทอย่างเคร่งครัด
  2. พนักงานบริษัท ไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชันการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ หากมีข้อสงสัย หรือข้อซักถามให้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของบริษัทผ่านช่องทางต่างๆ ที่บริษัทกำหนดไว้
  3. บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่ปฏิเสธหรือแจ้งเบาะแส หรือหลักฐานเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่บริษัทกำหนดไว้ในนโยบายการแจ้งข้อร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส
  4. ผู้ที่กระทำการทุจริตคอร์รัปชันภายใต้ชื่อของบริษัทถือเป็นการกระทำผิด ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

การร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน

บริษัท จะให้ความเป็นธรรม และคุ้มครองพนักงาน หรือบุคคลอื่นใดที่แจ้งเบาะแสหรือหลักฐานเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท รวมถึงพนักงานที่ปฏิเสธ ต่อการกระทำ โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชัน ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายการรับข้อร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน (Whistleblower Policy) ผู้ที่กระทำการทุจริต คอร์รัปชัน ถือเป็นการกระทำผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการบริหารงานบุคคล สำหรับพนักงาน ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยที่กำหนดไว้ รวมถึงอาจได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายด้วย

หมวด 4 นโยบายการรับ-ให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด, การเลี้ยงรับรอง, การบริจาค, การสนับสนุน, และการช่วยเหลือทางการเมือง

หลักการ

เพื่อให้พนักงานมีแนวทางในการยึดถือปฏิบัติเรื่องการบริจาคเพื่อการกุศล, เงินสนับสนุน, การรับ-ให้ของขวัญ การเลี้ยง หรือให้ประโยชน์อื่นใด และการช่วยเหลือทางการเมือง ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

การให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด

นโยบาย

พนักงานสามารถให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด ตามประเพณีนิยม หรือตามวาระโอกาสที่เหมาะสม และควรให้ในรูปแบบที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของบริษัท โดยการให้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และจารีตประเพณีท้องถิ่น และต้องไม่มีเจตนาเพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้รับกระทำการอันเป็นการอำนวยความสะดวกให้ หรือการกระทำให้บริษัทได้เปรียบคู่แข่งขัน หรือกระทำการให้บริษัททำผิดเป็นถูก ซึ่งบริษัทถือว่าเป็นการกระทำอันมิชอบ

แนวปฏิบัติ

  1. การให้ของขวัญ ของที่ระลึก ควรเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับบริษัท อาทิเช่น

        1.1 ปฏิทิน ไดอารี่ ปากกา แก้วน้ำ ดอกไม้ หนังสือ ภาพเขียน งานศิลปะ ฯลฯ

        1.2 สินค้าของบริษัท และบริษัทในกลุ่ม (Company Product)

        1.3 สินค้าที่ใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของบริษัท และบริษัทในกลุ่ม (Corporate Logo/Corporate Brand)

        1.4 สินค้าโครงการหลวง โครงการในพระราชดำริ สินค้าชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัท และบริษัทในกลุหรือสินค้าเพื่อการกุศล หรือ สาธารณประโยชน์หรือสินค้าที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  1. การให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด ควรดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
  2. ไม่ให้ของขวัญ ของที่ระลึก ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด แก่คู่สมรส บุตร หรือผู้เกี่ยวข้องของเจ้าหน้าที่รัฐ ลูกค้า คู่ค้า และบุคคลที่ติดต่อด้วย เนื่องจากโดยพฤติการณ์ถือว่าเป็นการรับแทน
  3. การให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด เนื่องในโอกาสสำคัญทางธุรกิจ อาทิ วันสถาปนาการจัดตั้งบริษัท และบริษัทในกลุ่ม การลงนามสัญญาทางธุรกิจ การจัดงานเลี้ยงเนื่องในวันเกิด วันแต่งงาน ฯลฯ สามารถกระทำได้ โดยมูลค่าของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด หากมีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท (ตามประกาศ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543) หน่วยงานผู้ให้จะต้องจัดทำแบบฟอร์มขออนุมัติการให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด, เงินสนับสนุน, สินค้าตัวอย่าง และต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติจากผู้บริหารระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไป
  4. หากของขวัญ ของที่ระลึก ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด มีมูลค่าเกินกว่า 3,000 บาท หน่วยงานผู้ให้จะต้องจัดทำแบบฟอร์มขออนุมัติการให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด, เงินสนับสนุน, สินค้าตัวอย่าง และบันทึกข้อความขออนุมัติอย่างชัดเจน พร้อมแนบเอกสารประกอบการพิจารณา เช่น ใบเสนอราคา รูปภาพ/รูปถ่ายของขวัญ เป็นต้น รวมทั้งเสนอพิจารณาอนุมัติจากผู้บริหารในระดับผู้ช่วยรองกรรมการผู้จัดการ หรือผู้บริหารในระดับที่สูงกว่าจากที่กล่าวข้างต้น

การรับของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด

นโยบาย

   พนักงานสามารถรับของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด ตามประเพณีนิยม หรือในวาระโอกาสต่างๆได้ เว้นแต่การรับของขวัญนั้น เป็นไปในรูปแบบเพื่อการทุจริต ติดสินบน หรือเจตนาอันมิชอบ ในการรับของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใดก็ตาม ขอให้พนักงานนำส่งให้กับแผนกธุรการ เพื่อทำการบันทึกเข้าระบบการรับของขวัญ ภายในของบริษัท ทั้งนี้ ของขวัญที่ทำการบันทึกเข้าระบบจะถูกนำมาพิจารณาแล้วแต่กรณีไป อาทิเช่น นำของขวัญที่ได้รับเพื่อนำไปบริจาคให้บุคคลหรือหน่วยงานภายนอก, นำของขวัญที่ได้รับเพื่อใช้ประโยชน์ภายในบริษัท หรือ นำของขวัญที่ได้รับเพื่อเป็นของขวัญจับฉลากให้กับพนักงานบริษัทในเทศกาลปีใหม่ เป็นต้น

แนวปฏิบัติ

  1. พนักงานจะต้องไม่รับของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด หรือสิ่งของที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย อันมีเจตนาโดยมิชอบ หรือส่งผลต่อการตัดสินใจในเชิงผลประโยชน์
  2. การรับของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด ที่ได้รับต้องนำส่งให้กับแผนกธุรการ พร้อมทั้งจัดทำ “แบบรายงานรับของขวัญ-ของกำนัล” เพื่อบันทึกเข้าระบบการรับของขวัญ ดังตัวอย่างต่อไปนี้   

        2.1 กรณีที่เป็นปากกา ปฏิทิน ไดอารี่ ที่ใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของบริษัท พนักงานสามารถรับเป็นของขวัญส่วนตัวได้ หรือแจกจ่ายให้กับหน่วยงานอื่นๆ โดยมิต้องจัดทำ “แบบรายงานรับของขวัญ-ของกำนัล” ให้บริษัททราบ

        2.2 กรณีเป็นของบริโภคซึ่งมีวันหมดอายุน้อยกว่า 1 เดือน ให้เป็นดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาส่วนงานที่ได้รับของขวัญในการบริหารจัดการ อาจแจกจ่ายในส่วนงานของตน หรือแบ่งสันปันส่วนให้หน่วยงานอื่นๆ โดยมิต้องจัดทำ “แบบรายงานรับของขวัญ-ของกำนัล” ให้บริษัททราบ

        2.3 กรณีเป็นการรับของขวัญ ของที่ระลึก ในนามองค์กรต่อองค์กร เช่น การลงนามสัญญาทางธุรกิจ สามารถรับไว้ได้ ทั้งนี้ ของขวัญ ของที่ระลึก ดังกล่าว จะต้องเป็นทรัพย์สินของบริษัท โดยผู้รับของขวัญจะต้องจัดทำ “แบบรายงานรับของขวัญ-ของกำนัล” และนำส่งของขวัญไปที่แผนกธุรการเพื่อควบคุมการเบิก-จ่ายของขวัญไว้ใช้ในโอกาสต่อไป

        2.4 กรณีการเบิก-จ่ายของขวัญ ของที่ระลึกจากแผนกธุรการ เพื่อใช้ในโอกาสอื่นๆ ผู้ขอเบิกต้องจัดทำแบบฟอร์มขออนุมัติการให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด, เงินสนับสนุน, สินค้าตัวอย่าง ให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ และต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจลงนาม

        2.5 พนักงานที่ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ และได้รับของขวัญจากคู่ค้า/ผู้ขาย ลูกค้า หรือผู้ร่วมทุนใดๆ หากไม่สามารถปฏิเสธการรับของขวัญจากต่างประเทศได้ ให้รับมา โดยผู้รับจะต้องจัดทำ “แบบรายงานรับของขวัญ-ของกำนัล” และส่งมอบแก่แผนกธุรการ เพื่อทำบันทึกรับเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทต่อไป

การเลี้ยงรับรอง

นโยบาย

      บริษัทตะหนักถึงความสำคัญของการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ดังนั้น การใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงรับรองในเชิงธุรกิจ อาทิเช่น การเลี้ยงรับรองเป็นอาหารและเครื่องดื่ม การเลี้ยงรับรองในรูปแบบการกีฬา กิจกรรมสันทนาการต่างๆ และการใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติทางธุรกิจ หรือ เป็นจารีตทางการค้า รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจทางธุรกิจ สามารถกระทำได้ แต่ต้องเป็นการใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล และไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของผู้รับการเลี้ยง หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัท ผู้รับการเลี้ยง หรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต้องเป็นไปตามตารางอำนาจการอนุมัติของบริษัทด้วย

แนปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเลี้ยงรับรองต้องได้รับการอนุมัติตามตารางอำนาจการอนุมัติของบริษัท โดยการเลี้ยงรับรองจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับของผู้ถูกรับการเลี้ยง หรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องด้วย
  2. ผู้ขออนุมัติต้องแสดงหลักฐานการเลี้ยงรับรองต่อเจ้าหน้าที่สายงานการเงินและบัญชี อาทิเช่น ใบเสร็จรับเงิน หนังสือขอบคุณ หรือหลักฐานประกอบอื่นๆ มาแสดงให้ผู้บังคับบัญชา และฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาและจัดเก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบต่อไป

การบริจาค

นโยบาย

บริษัทมีนโยบายให้ความช่วยเหลือ บริจาคแก่องค์กรสาธารณกุศล หรือให้การสนับสนุนแก่องค์กรต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินการจะต้องกระทำในนามของบริษัทเท่านั้น และในการบริจาคจะต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติโดยระดับผู้บริหาร เป็นต้นไป

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. การบริจาคต้องเป็นองค์กรที่เชื่อถือได้ และ/หรือมีการจัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่น มูลนิธิ องค์กรสาธารณะกุศลตามประกาศกระทรวงการคลัง วัด โรงพยาบาล สถานศึกษา หรือองค์กรทำประโยชน์เพื่อสังคม ที่มีใบรับรองสามารถตรวจสอบได้ เป็นต้น โดยที่ไม่หวังผลประโยชน์ทางการค้า หรือสิ่งอื่นใดเป็นการตอบแทน
  2. การบริจาคจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับบุคคล หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ยกเว้นการประกาศเกียรติคุณตามธรรมเนียมธุรกิจทั่วไป
  3. การบริจาคไม่ควรเป็นการจ่ายเงินตรงไปที่เจ้าหน้าที่รัฐบาล หรือให้กับบุคคลใดๆ เว้นแต่มีรายละเอียดระบุในหนังสือขอรับการสนับสนุนชัดเจน และมีหลักฐานการรับการสนับสนุนเป็นลายลักษณ์อักษร
  4. การบริจาค จะต้องมีใบอนุโมทนาบัตร ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับระเบียบของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคไม่ได้ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการกระทำอันเป็นการทุจริตคอร์รัปชัน

การให้เงินสนับสนุน และการสนับสนุนกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)

นโยบาย

การให้เงินสนับสนุน และการสนับสนุนกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) สามารถดำเนินการได้ และต้องเป็นการกระทำในนามของบริษัท ซึ่งต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และต้องพิสูจน์ได้ว่าการสนับสนุนดังกล่าวได้ดำเนินการจริง โดยจะต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ที่ดี และชื่อเสียงของบริษัทเป็นสำคัญ

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. การให้เงินสนับสนุน เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ทางธุรกิจและการขาย มีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ เผยแพร่ตราสินค้า ส่งเสริมการขาย ชื่อเสียงของบริษัท โดยไม่หวังผลประโยชน์หรือมีวัตถุประสงค์แอบแฝงอื่นที่เป็นการทุจริต หรือประพฤติโดยมิชอบ และผู้ดำเนินการขอเงินสนับสนุนจะต้องจัดทำเอกสารเพื่อขออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจอนุมัติตามตารางอำนาจอนุมัติ
  2. การจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) สามารถดำเนินการได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ตั้งแต่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่แข่ง รัฐบาล ชุมชน สังคม ตลอดจนสิ่งแวดล้อม และการจัดกิจกรรมดังกล่าวจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และจัดทำเอกสารเพื่อขออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจอนุมัติตามตารางอำนาจอนุมัติ
  3. การสนับสนุนโดยเงิน หรือการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับบุคคล หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ
  4. การสนับสนุนโดยเงิน หรือการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) จะต้องตรวจสอบได้ มีใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับระเบียบของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าการสนับสนุนดังกล่าวไม่ได้ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการกระทำอันเป็นการทุจริตคอร์รัปชัน

การให้ และรับข้อเสนอการประชุม อบรม สัมมนา เยี่ยมชมกิจการ และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ โดยใช้งบประมาณของบริษัท หรือคู่ค้า

นโยบาย

การให้ และรับข้อเสนอการประชุม อบรม สัมมนา เยี่ยมชมกิจการ และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ โดยใช้งบประมาณของบริษัท หรือคู่ค้า สามารถกระทำได้ หากเป็นไปตามข้อตกลงที่ระบุในสัญญา แต่ต้องไม่มีลักษณะแฝงการท่องเที่ยว ในกรณีที่ไม่ได้ระบุในข้อตกลงตามสัญญา สามารถกระทำได้ หากพิจารณาแล้วว่าการให้ และรับข้อเสนอ ดังกล่าวมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท และบริษัทในกลุ่ม ทั้งนี้ ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาและเป็นไปตามระเบียบของบริษัท และบริษัทในกลุ่ม

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. ผู้ให้ และรับข้อเสนอการประชุม อบรม สัมมนา เยี่ยมชมกิจการ และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ โดยใช้งบประมาณของบริษัท หรือคู่ค้า ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา โดยจะต้องระบุรายละเอียด วัตถุประสงค์ สถานที่ หน่วยงานที่เรียนเชิญ พร้อมแนบเอกสารประกอบการพิจารณา เช่น จดหมายเชิญประชุม การ์ดเชิญ ใบโฆษณาอบรม/สัมมนา เป็นต้น นำเสนอ แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานรับทราบ
  2. การรับประโยชน์จากการจับฉลากของรางวัล ในกรณีที่ไปร่วมการประชุม อบรม สัมมนา เยี่ยมชมกิจการ และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ มีการเล่นเกมส์แจกของรางวัล หรือจับฉลากของรางวัล ผู้เข้ารับข้อเสนอการประชุม อบรม สัมมนา เยี่ยมชมกิจการ และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ สามารถรับของรางวัลนั้นไว้ได้ เนื่องจากไม่ได้เป็นการให้เฉพาะเจาะจง ถือเป็นการให้ในลักษณะให้แก่บุคคนทั่วไป
  3. ไม่ให้ และรับข้อเสนอเกี่ยวกับการอบรม สัมมนา ที่มีลักษณะแฝงท่องเที่ยว โดยปราศจากเจตนาในการถ่ายทอดความรู้อย่างแท้จริง

การช่วยเหลือทางการเมือง

นโยบาย

      บริษัทมีนโยบายดำเนินธุรกิจอย่างเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง นักการเมือง หรือพรรคการเมืองใดๆ บริษัทเป็นองค์กรที่ยึดมั่นในความเป็นกลางทางการเมือง สนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมาย และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย บริษัทไม่มีนโยบายสนับสนุนหรือช่วยเหลือทางการเงิน สิ่งของ และกิจกรรมใดๆของพรรคการเมืองหรือนักการเมืองใด เพื่อแลกกับสิทธิพิเศษหรือผลประโยชน์อันมิชอบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองสามารถเข้าร่วมได้ตามสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่ไม่มีสิทธิ์ในการแอบอ้างความเป็นพนักงานบริษัท หรือนำทรัพย์สิน อุปกรณ์ เครื่องมือใดๆ ของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ในเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง

  1. ไม่ควรแสดงออกด้วยวิธีใดๆ ที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าบริษัท มีความเกี่ยวข้อง ฝักใฝ่ หรือให้การสนับสนุนการดำเนินการทางการเมือง
  2. ไม่แต่งกายด้วยเครื่องแบบพนักงานหรือใช้สัญลักษณ์ใดที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่าเป็นพนักงานของบริษัท ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง
  3. ไม่แอบอ้างตำแหน่งหน้าที่การงาน การเป็นพนักงานของบริษัท เพื่อความน่าเชื่อถือในการหาแนวร่วมในการแสดงออกทางการเมือง
  4. หลีกเลี่ยงการแสดงออก หรือ แสดงความคิดเห็นทางการเมืองในสถานที่ทำงานหรือในเวลางานอันอาจทำให้เกิดความขัดแย้งในการทำงาน

หมวด 5 การรับข้อร้องเรียนหรือรับแจ้งเบาะแสและมาตรการคุ้มครอง

การรักษาความลับ

บริษัทยึดมั่นและตระหนักในการรักษาความลับให้กับพนักงาน หรือผู้ร้องเรียนว่าข้อร้องเรียนของตนจะได้รับการตอบสนองอย่างจริงจัง และพนักงาน หรือผู้รายงานจะไม่ได้รับความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากการรายงานข้อร้องเรียนโดยสุจริต ข้อมูลการเปิดเผยตัวของพนักงานจะถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับเสมอ อย่างไรก็ตาม ในการร้องเรียน พนักงานควรรวบรวมข้อมูลด้วยความระมัดระวังและคำนึงถึงความถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผย

อนึ่ง บุคคลใดที่ได้รับทราบเรื่องร้องเรียน หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนนี้ จะต้องปกป้องข้อมูลเรื่องร้องเรียน หรือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนให้เป็นความลับ และไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้แจ้งข้อร้องเรียน แหล่งที่มาของข้อมูล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่กรณีที่มีความจำเป็นในขั้นตอนการดำเนินการตามระเบียบของบริษัท หรือตามที่กฎหมายกำหนด หากมีการจงใจฝ่าฝืนนำข้อมูลออกไปเปิดเผย บริษัทจะดำเนินการลงโทษทางวินัย และ/หรือดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ฝ่าฝืน แล้วแต่กรณี

การคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียน

บริษัท มีนโยบายที่จะสนับสนุนการร้องเรียนของผู้ร้องเรียนบนหลักสุจริต และจะปกป้องสิทธิของผู้ร้องเรียนด้วยหลักปฏิบัติอย่างเป็นธรรม

การแจ้งข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ

ผู้ร้องเรียนย่อมตระหนักและเข้าใจเป็นอย่างดีว่าการร้องเรียนจะต้องกระทำโดยสุจริต หากผู้ร้องเรียนมีเจตนากลั่นแกล้ง หรือร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จหรือมีเจตนาไม่สุจริตต่อผู้ถูกร้องเรียน บริษัทจะถือว่าการร้องเรียนดังกล่าวเป็นการละเมิดจริยธรรมธุรกิจ ทั้งนี้ บริษัทจะจัดให้มีการดำเนินการตามขั้นตอนของบริษัท หรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องเรียนตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี ต่อไป

บทลงโทษ

ผู้ใดกระทำการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ไม่ปฏิบัติตามนโยบายนี้ รวมทั้งมีพฤติกรรมกลั่นแกล้งข่มขู่ ลงโทษทางวินัย หรือเลือกปฏิบัติ ด้วยวิธีการอันไม่ชอบเนื่องมาจากการร้องเรียนต่อผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนตามนโยบายนี้ ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย และต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายแก่บริษัท หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าว ตลอดจนอาจต้องรับผิดในทางกฎหมายต่อไปด้วย

ขั้นตอนการแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ

การร้องเรียนให้ทำเป็นหนังสือและมีรายละเอียดของการร้องเรียน ดังต่อไปนี้

  1. ชื่อ และนามสกุล หมายเลขโทรศัพท์และ E-mail ของผู้ร้องเรียน
  2. ชื่อ และนามสกุล ผู้ถูกร้องเรียน และที่อยู่ของผู้ถูกร้องเรียน (ถ้ามี)
  3. วัน เดือน ปี ที่ร้องเรียน
  4. วัน เดือน ปี และสถานที่ที่ผู้ร้องเรียนพบเห็นพฤติกรรม หรือเหตุการณ์
  5. ข้อเท็จจริงและการกระทำของผู้ถูกร้องเรียนที่ผู้ร้องเรียนเห็นว่าอยู่ในขอบเขตของเรื่องร้องเรียน
  6. เอกสารหลักฐานประกอบการร้องเรียน (ถ้ามี)
  7. ดำเนินการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน
  • แจ้งผ่านช่องทางกล่องแสดงความคิดเห็นของบริษัท ณ จุดบริเวณทางเดินเข้า-ออก
    ทั้งที่สำนักงานใหญ่ และโรงงาน
  • แจ้งผ่านช่องทางอีเมล์ของ “ฝ่ายตรวจสอบภายใน” มาที่อีเมล์: internalaudit@sherwood.co.th

      หรือช่องทางอีเมล์ของ “ฝ่ายเลขานุการบริษัท” มาที่อีเมล์: companysecretary@sherwood.co.th

  • จดหมายปิดผนึก และจ่าหน้าซองถึง “ฝ่ายตรวจสอบภายใน” หรือ “ฝ่ายเลขานุการบริษัท” มายัง

      ที่อยู่: บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

      1065 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กทม. 10250

ขั้นตอนการพิจารณาข้อร้องเรียนหรือเบาะแส

  1. 1ข้อร้องเรียนหรือเบาะแสที่ได้รับแจ้งจะถือเป็นความลับ และจะไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ร้องเรียนต่อสาธารณชน หากไม่ได้รับความยินยอม รวมทั้งผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือแหล่งที่มาของข้อมูลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง จะได้รับความคุ้มครองสิทธิโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
  2. อาจมีการมอบหมายหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง และแจ้งความคืบหน้าให้ผู้ร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแสทราบ
  3. หากการสืบสวนข้อเท็จจริง พบว่า ข้อมูลหรือหลักฐานที่มีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาได้กระทำการ ทุจริตและคอร์รัปชั่นจริง บริษัท จะให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาและให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ ตนเอง โดยการหาข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำอันทุจริต และคอร์รัปชั่น ตามที่ได้ถูกกล่าวหา
  4. 4. หากผู้ถูกกล่าวหา ได้กระทำความผิดจริง ถือว่าการกรทำดังกล่าวเป็นการกระทำผิดต่อนโยบาย และข้อบังคับของบริษัท ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับบริษัท ที่ได้กำหนดไว้ และหากการกระทำนั้น เป็นการกระทำอันผิดด้วยกฎหมาย ผู้กระทำผิดอาจจะต้องได้รับโทษทางกฎหมายอีกด้วย

มาตรการการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแส

  1. บริษัท จะเก็บข้อมูลของผู้ร้องเรียนและผู้ถูกร้องเรียนไว้เป็นความลับ และจะเปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้ร้องเรียน
  2. ผู้ร้องเรียนสามารถร้องขอให้บริษัท กำหนดมาตรการคุ้มครองได้ตามความเหมาะสม หรือบริษัท อาจกำหนดมาตรการคุ้มครองให้แก่ผู้ร้องเรียนโดยที่ไม่ต้องร้องขอ กรณีพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเสี่ยงที่ผู้ร้องเรียนจะได้รับความไม่ปลอดภัยหรือความเสียหาย
  3. บริษัท จะไม่กระทำการใดๆ อันไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ลักษณะงาน สถานที่ทำงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้าง เป็นต้น

หมวด 6 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท

บริษัทมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส และสุจริต โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญ ภายใต้ความถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม ดังนั้น กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ต้องยึดถือประโยชน์สูงสุดของบริษัท ภายใต้ความถูกต้องของกฎหมาย และจริยธรรมโดยหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะส่งผลกระทบในการตัดสินใจใดๆต่อบริษัท

นโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจะต้องกระทำการใดๆด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และยึดถือผลประโยชน์ของบริษัทเป็นสำคัญ โดยพึงหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และอาจส่งผลกระทบต่อบริษัท ทั้งนี้หากเห็นการกระทำใดที่อาจเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้นให้รีบแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลโดยด่วน

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับตนเอง ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ในกรณีที่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันภายใต้ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียนอย่างเคร่งครัด
  2. กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปเป็นกรรมการหุ้นส่วน หรือที่ปรึกษาไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในบริษัท หรือองค์กรทางธุรกิจอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นการแข่งขัน หรือขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อบริษัท
  3. กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การอนุมัติหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำใดๆ ที่ตนมีส่วนที่จะได้รับผลประโยชน์
  4. พนักงานไม่พึงประกอบการ ดำเนินการ หรือลงทุนใดๆ อันเป็นการแข่งขัน หรืออาจเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท
  5. ต้องไม่ใช้ทรัพย์สินของบริษัท อาทิ ทรัพย์สิน เวลา เงินทุน ความลับ ทรัพย์สินทางปัญญาหรือข้อมูลข่าวสาร คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ และชื่อบริษัท เพื่อการดำเนินกิจกรรมหรือธุรกิจภายนอกบริษัท โดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจ
  6. การรับงานทางวิชาการ เป็นวิทยากร งานบริการสาธารณะ และการรับตำแหน่งใดๆภายนอกบริษัท ลักษณะงานที่เป็นการช่วยขยายวิสัยทัศน์และประสบการณ์ให้แก่บุคลากรนั้น ให้ขออนุมัติจากผู้มีอำนาจ แต่จะต้องไม่นำเอาบริษัท หรือตำแหน่งของตนในบริษัทไปใช้อ้างอิงเพื่อส่งเสริมกิจกรรมที่ทำภายนอก

นโยบายการรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้ประโยชน์ส่วนตน และการให้ข้อมูลข่าวสารต่อบุคคลภายนอกอันจะนำมาซึ่งผลเสียหายที่จะเกิดต่อธุรกิจ และชื่อเสียงของบริษัท กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทมีหน้าที่อย่างเคร่งครัดในการเก็บรักษาข้อมูลภายในและทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทไว้เป็นความลับ โดยได้จัดทำนโยบาย และแนวทางในการปฏิบัติในนโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

  • การรักษาความลับ และการใช้ข้อมูลภายใน

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีหน้าที่อย่างเคร่งครัดในการเก็บรักษาข้อมูลภายในบริษัทไว้เป็นความลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ หรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือราคาหุ้น

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีหน้าที่รักษาความลับทางการค้า สูตรลับทางการค้า กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการประกอบธุรกิจให้เป็นความลับ และป้องกันมิให้ข้อมูลเหล่านั้นรั่วไหล
  2. ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ เช่น สถานะบุคคล ชีวประวัติ ประวัติการทำงาน ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลสำหรับการติดต่อ ข้อมูลสุขภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ต้องได้รับความคุ้มครองไม่ให้ถูกใช้ เปิดเผย หรือถ่ายโอนไปยังบุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมาย
  3. ไม่ใช้โอกาสหรือข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานในการหาประโยชน์ส่วนตนและในเรื่องการทำธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัท หรือทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
  4. ไม่ใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนในการซื้อขายหุ้นของบริษัท หรือให้ข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นของบริษัท
  5. ไม่เปิดเผยข้อมูลความลับทางธุรกิจของบริษัท ต่อบุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งขัน แม้หลังพ้นสภาพการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทไปแล้ว
  6. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคู่สัญญา และข้อตกลงที่มีไว้กับคู่สัญญา ถือเป็นความลับที่ไม่อาจเปิดเผยให้บุคคลอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากบริษัท และคู่สัญญาเท่านั้น
  • การดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท

บริษัทตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และคำนึงถึงทรัพย์สินของบริษัท บริษัทจึงส่งเสริมให้พนักงานทุกคนใช้ทรัพยากรและทรัพย์สินของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้ง พนักงานจะต้องดูแลรักษาทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท ประกอบด้วย ชื่อบริษัท โลโก้ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า ขั้นตอนทำงาน และ นวัตกรรม ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าของบริษัทมิให้ถูกนำไปใช้ หรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต และจะต้องไม่ละเมิดในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นเช่นกัน

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. จะต้องใช้ทรัพย์สินและทรัพยากรของบริษัทอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด
  2. จะต้องช่วยกันดูแลรักษามิให้ทรัพย์สินใดๆ ของบริษัทสื่อมค่าหรือสูญหายโดยมิชอบ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือเพื่อบุคคลอื่น
  3. รักษาและคุ้มครองสิทธิทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ประกอบด้วยความลับทางการค้า เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์ต่างๆ การนำข้อมูลเหล่านี้ อันเป็นความลับของบริษัท คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เผยแพร่เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการกระทำผิดนโยบายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา และอาจเป็นการกระทำผิดกฎหมายและอาจต้องโทษทั้งทางแพ่งและอาญา
  4. จะต้องเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นไม่นำผลงานของผู้อื่นแม้เพียงบางส่วนไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตนโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือให้ค่าตอบแทนแก่เจ้าของงานเสียก่อน
  5. รายงานต่อผู้บังคับบัญชาเมื่อพบเห็นการกระทำที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หรืออาจนำไปสู่การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หรือการกระทำที่อาจก่อให้เกิดข้อพิพาทใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท หรือของบุคคลอื่น
  6. การจัดทำเอกสารจะต้องจัดทำเอกสารต่างๆ ด้วยความสุจริต รอบคอบ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
  7. ห้ามมิให้ปลอมแปลงหนังสือ รายงาน หรือเอกสารของบริษัท
  8. การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและสารสนเทศต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานถือเป็นทรัพย์สินของบริษัท ผู้บริหารและพนักงานไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
  9. ห้ามผู้บริหารและพนักงานเปิดเผยข้อมูล และรหัสผ่าน (Password) หรือรหัสใดๆของบริษัทที่ใช้ในการเข้าถึงระบบข้อมูลของบริษัทแก่ผู้อื่น
  10. ห้ามผู้บริหารและพนักงานปรับแต่งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ หรือติดตั้งอุปกรณ์ใดๆ ที่นอกเหนือจากอุปกรณ์มาตรฐานที่บริษัท ติดตั้งให้
  11. ห้ามผู้บริหารและพนักงานใช้อีเมลหรือระบบคอมพิวเตอร์ใดๆของบริษัท ในการส่งต่อข้อความที่กล่าวร้าย ทำให้เสื่อมเสียหรือข้อความที่หยาบคาย ลามก ข่มขู่ ก่อกวน หรือสร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น
  12. ผู้บริหารและพนักงานควรใช้อินเทอร์เน็ตในการแสวงหาข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และจะต้องหลีกเลี่ยงเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมายหรือละเมิดศีลธรรมอันดีงาม
  13. ผู้บริหารและพนักงานควรใช้อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ที่บริษัทจัดให้ อาทิ โทรศัพท์ โทรสาร โทรศัพท์มือถือ และวิทยุติดตามตัวอย่างมีจิตสำนึกและรับผิดชอบ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัท เป็นหลัก

หมวด 7 การเปิดเผย และการสื่อสารข้อมูล

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทควรเปิดเผยข้อมูล และสื่อสารข้อมูลของบริษัทด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน เท่าเทียมกัน และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) การสื่อสารทางการตลาดภายใต้ตราสินค้าของบริษัท และการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์จะต้องกระทำด้วยความเหมาะสม ถูกต้องตามความเป็นจริง

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. การเปิดเผยข้อมูลที่อาจมีผลกระทบใดๆ ต่อบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสีย ต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจโดยตรงในเรื่องนั้นๆ เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจในเรื่องนั้นๆ
  2. การเปิดเผยข้อมูลจะต้องระมัดระวังมิให้เกิดผลกระทบต่อบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสีย
  3. ห้ามใช้วิธีการสื่อสารทางการตลาดที่เป็นการเปรียบเทียบโดยตรงกับสินค้า หรือบริการของคู่แข่ง
  4. ไม่นำเสนอสิ่งที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เช่น สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ การเมือง ความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความคิดเห็นเรื่องเพศ หรือเรื่องที่ขัดต่อศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  5. ในกรณีที่พบข้อมูล ข่าวสารที่กล่าวพาดพิงถึงบริษัท หรือการปฏิบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อตราสินค้าของบริษัทอย่างไม่เหมาะสม ให้รีบแจ้งหน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือผู้บังคับบัญชาทันที

หมวด 8 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน โดยบริษัทส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกให้พนักงานทุกคนรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานของบริษัทให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ และปลอดภัย

แนวปฏิบัติ และขั้นตอน

  1. บริษัทจะดำเนินการเพื่อควบคุม และป้องกันการสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ อัคคีภัย และความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน ตลอดจนรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย
  2. บริษัทจะดำเนินการด้านความปลอดภัยทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิต และสุขภาพอนามัยของพนักงาน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์สินของบริษัท
  3. บริษัทถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและพนักงานทุกคนในการรายงานการเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งการปฏิบัติตามขั้นตอน หรือ กระบวนการต่างๆอย่างเคร่งครัด
  4. ผู้บริหารและพนักงานต้องดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างมีระบบ และถือเป็นส่วนหนึ่งของงาน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ป้องกันการสูญเสีย และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
  5. ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย นโยบาย กฎระเบียบ ข้อกำหนด มาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัท ว่าด้วยความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

บริษัทจะทบทวนและประเมินระบบการดำเนินงาน ด้านความปลอดภัยเป็นระยะๆ เพื่อนำมาวางแผนในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง