preloading
latest news latest news
Code of Conduct

Code of Conduct

img name
img name

คู่มือจริยธรรม และจรรยาบรรณธุรกิจ

Code of Conduct

จริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นการประมวลแบบแผน ขอบเขตมาตรฐานความประพฤติ และพฤติกรรมที่พนักงานทุกคนของบริษัท พึงใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปในวิถีทางเดียวกัน

1. การเคารพกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชน

คณะกรรมการบริษัท ยึดมั่นให้พนักงานทุกคนเคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดจนขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น พร้อมทั้งการเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย และมาตรฐานสากล โดยบริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติต่อพนักงาน บริษัทย่อย และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของบริษัทอย่างเป็นธรรม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ รวมทั้งการรักษาสิทธิมนุษยชนของพนักงานตามที่กฎหมายแรงงาน และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นธรรม

แนวปฏิบัติ

ให้ความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างในทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม และการให้สิทธิเท่าเทียมต่อคนพิการ

  1. ดูแล รักษาข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน ไม่เปิดเผยข้อมูลอันเป็นส่วนบุคคลสู่สาธารณชน ก่อนได้รับความเห็นชอบจากผู้นั้น
  2. ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ
    ให้ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน
  3. บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองบุคคลที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  4. ผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณของบริษัท จะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้ และอาจจะได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

2. นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย

การดำเนินธุรกิจของบริษัท ย่อมเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า หน่วยราชการ ตลอดจน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น บริษัทจึงได้จัดทำ “นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น ซึ่งได้เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อให้พนักงานใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท

3. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

บริษัทกำหนดให้มีนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัททุกคน มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม และให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ จะไม่มีการเรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือ คนรู้จักในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้ง บริษัทจัดทำนโยบาย และขั้นตอนการรับข้อร้องเรียน แจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารให้กับบริษัท โดยนโยบายทั้งสองได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

ดำเนินการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน ดังนี้

- แจ้งผ่านช่องทางกล่องแสดงความคิดเห็นของบริษัท ณ จุดบริเวณทางเดินเข้า-ออก ทั้งที่สำนักงานใหญ่ และโรงงาน

- แจ้งผ่านช่องทางอีเมล์ของ “ฝ่ายตรวจสอบภายใน” มาที่ อีเมล์: internalaudit@sherwood.co.th

หรือช่องทางอีเมล์ของ “ฝ่ายเลขานุการบริษัท” มาที่ อีเมล์: companysecretary@sherwood.co.th

- จดหมายปิดผนึก และจ่าหน้าซองถึง “ฝ่ายตรวจสอบภายใน” หรือ “ฝ่ายเลขานุการบริษัท” มายัง

ที่อยู่: บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

1065 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กทม. 10250

4. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ต้องยึดถือประโยชน์สูงสุดของบริษัท ภายใต้ความถูกต้องของกฎหมาย และจริยธรรมโดยหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะส่งผลกระทบในการตัดสินใจใดๆต่อบริษัท ดังนั้น กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานควรพิจารณาแนวทางในการปฏิบัติในนโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

5. การรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้ประโยชน์ส่วนตน และการให้ข้อมูลข่าวสารต่อบุคคลภายนอกอันจะนำมาซึ่งผลเสียหายที่จะเกิดต่อธุรกิจ และชื่อเสียงของบริษัท กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทมีหน้าที่อย่างเคร่งครัดในการเก็บรักษาข้อมูลภายในบริษัทไว้เป็นความลับ โดยได้จัดทำนโยบาย และแนวทางในการปฏิบัติในนโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

6. การเปิดเผย และการสื่อสารข้อมูล

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทควรเปิดเผยข้อมูล และสื่อสารข้อมูลของบริษัทด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน เท่าเทียมกัน และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) การสื่อสารทางการตลาดภายใต้ตราสินค้าของบริษัท และการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์จะต้องกระทำด้วยความเหมาะสม ถูกต้องตามความเป็นจริง

แนวปฏิบัติ

  1. การเปิดเผยข้อมูลที่อาจมีผลกระทบใดๆ ต่อบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสีย ต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจโดยตรงในเรื่องนั้นๆ เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจในเรื่องนั้นๆ
  2. การเปิดเผยข้อมูลจะต้องระมัดระวังมิให้เกิดผลกระทบต่อบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสีย
  3. ห้ามใช้วิธีการสื่อสารทางการตลาดที่เป็นการเปรียบเทียบโดยตรงกับสินค้า หรือบริการของคู่แข่ง
  4. ไม่นำเสนอสิ่งที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เช่น สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ การเมือง ความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความคิดเห็นเรื่องเพศ หรือเรื่องที่ขัดต่อศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  5. ในกรณีที่พบข้อมูล ข่าวสารที่กล่าวพาดพิงถึงบริษัท หรือการปฏิบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อตราสินค้าของบริษัทอย่างไม่เหมาะสม ให้รีบแจ้งหน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือผู้บังคับบัญชาทันที 

7.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน โดยบริษัทส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกให้พนักงานทุกคนรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานของบริษัทให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ และปลอดภัย

แนวปฏิบัติ

  1. บริษัทจะดำเนินการเพื่อควบคุม และป้องกันการสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ อัคคีภัย และความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน ตลอดจนรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย
  2. บริษัทจะดำเนินการด้านความปลอดภัยทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิต และสุขภาพอนามัยของพนักงาน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์สินของบริษัท
  3. บริษัทถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและพนักงานทุกคนในการรายงานการเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งการปฏิบัติตามขั้นตอน หรือ กระบวนการต่างๆอย่างเคร่งครัด
  4. ผู้บริหารและพนักงานต้องดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างมีระบบ และถือเป็นส่วนหนึ่งของงาน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ป้องกันการสูญเสีย และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
  5. ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย นโยบาย กฎระเบียบ ข้อกำหนด มาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัท ว่าด้วยความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

บริษัทจะทบทวนและประเมินระบบการดำเนินงาน ด้านความปลอดภัยเป็นระยะๆ เพื่อนำมาวางแผนในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

Code of Conduct

คู่มือจริยธรรม และจรรยาบรรณธุรกิจ

Code of Conduct

จริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นการประมวลแบบแผน ขอบเขตมาตรฐานความประพฤติ และพฤติกรรมที่พนักงานทุกคนของบริษัท พึงใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปในวิถีทางเดียวกัน

1. การเคารพกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชน

คณะกรรมการบริษัท ยึดมั่นให้พนักงานทุกคนเคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดจนขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น พร้อมทั้งการเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย และมาตรฐานสากล โดยบริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติต่อพนักงาน บริษัทย่อย และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของบริษัทอย่างเป็นธรรม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ รวมทั้งการรักษาสิทธิมนุษยชนของพนักงานตามที่กฎหมายแรงงาน และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นธรรม

แนวปฏิบัติ

ให้ความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างในทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม และการให้สิทธิเท่าเทียมต่อคนพิการ

  1. ดูแล รักษาข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน ไม่เปิดเผยข้อมูลอันเป็นส่วนบุคคลสู่สาธารณชน ก่อนได้รับความเห็นชอบจากผู้นั้น
  2. ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ
    ให้ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน
  3. บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองบุคคลที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  4. ผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณของบริษัท จะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้ และอาจจะได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

2. นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย

การดำเนินธุรกิจของบริษัท ย่อมเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า หน่วยราชการ ตลอดจน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น บริษัทจึงได้จัดทำ “นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น ซึ่งได้เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อให้พนักงานใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท

3. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

บริษัทกำหนดให้มีนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัททุกคน มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม และให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ จะไม่มีการเรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือ คนรู้จักในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้ง บริษัทจัดทำนโยบาย และขั้นตอนการรับข้อร้องเรียน แจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารให้กับบริษัท โดยนโยบายทั้งสองได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

ดำเนินการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน ดังนี้

- แจ้งผ่านช่องทางกล่องแสดงความคิดเห็นของบริษัท ณ จุดบริเวณทางเดินเข้า-ออก ทั้งที่สำนักงานใหญ่ และโรงงาน

- แจ้งผ่านช่องทางอีเมล์ของ “ฝ่ายตรวจสอบภายใน” มาที่ อีเมล์: internalaudit@sherwood.co.th

หรือช่องทางอีเมล์ของ “ฝ่ายเลขานุการบริษัท” มาที่ อีเมล์: companysecretary@sherwood.co.th

- จดหมายปิดผนึก และจ่าหน้าซองถึง “ฝ่ายตรวจสอบภายใน” หรือ “ฝ่ายเลขานุการบริษัท” มายัง

ที่อยู่: บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

1065 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กทม. 10250

4. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ต้องยึดถือประโยชน์สูงสุดของบริษัท ภายใต้ความถูกต้องของกฎหมาย และจริยธรรมโดยหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะส่งผลกระทบในการตัดสินใจใดๆต่อบริษัท ดังนั้น กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานควรพิจารณาแนวทางในการปฏิบัติในนโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

5. การรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้ประโยชน์ส่วนตน และการให้ข้อมูลข่าวสารต่อบุคคลภายนอกอันจะนำมาซึ่งผลเสียหายที่จะเกิดต่อธุรกิจ และชื่อเสียงของบริษัท กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทมีหน้าที่อย่างเคร่งครัดในการเก็บรักษาข้อมูลภายในบริษัทไว้เป็นความลับ โดยได้จัดทำนโยบาย และแนวทางในการปฏิบัติในนโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

6. การเปิดเผย และการสื่อสารข้อมูล

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทควรเปิดเผยข้อมูล และสื่อสารข้อมูลของบริษัทด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน เท่าเทียมกัน และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) การสื่อสารทางการตลาดภายใต้ตราสินค้าของบริษัท และการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์จะต้องกระทำด้วยความเหมาะสม ถูกต้องตามความเป็นจริง

แนวปฏิบัติ

  1. การเปิดเผยข้อมูลที่อาจมีผลกระทบใดๆ ต่อบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสีย ต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจโดยตรงในเรื่องนั้นๆ เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจในเรื่องนั้นๆ
  2. การเปิดเผยข้อมูลจะต้องระมัดระวังมิให้เกิดผลกระทบต่อบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสีย
  3. ห้ามใช้วิธีการสื่อสารทางการตลาดที่เป็นการเปรียบเทียบโดยตรงกับสินค้า หรือบริการของคู่แข่ง
  4. ไม่นำเสนอสิ่งที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เช่น สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ การเมือง ความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความคิดเห็นเรื่องเพศ หรือเรื่องที่ขัดต่อศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  5. ในกรณีที่พบข้อมูล ข่าวสารที่กล่าวพาดพิงถึงบริษัท หรือการปฏิบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อตราสินค้าของบริษัทอย่างไม่เหมาะสม ให้รีบแจ้งหน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือผู้บังคับบัญชาทันที 

7.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน โดยบริษัทส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกให้พนักงานทุกคนรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานของบริษัทให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ และปลอดภัย

แนวปฏิบัติ

  1. บริษัทจะดำเนินการเพื่อควบคุม และป้องกันการสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ อัคคีภัย และความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน ตลอดจนรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย
  2. บริษัทจะดำเนินการด้านความปลอดภัยทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิต และสุขภาพอนามัยของพนักงาน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์สินของบริษัท
  3. บริษัทถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและพนักงานทุกคนในการรายงานการเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งการปฏิบัติตามขั้นตอน หรือ กระบวนการต่างๆอย่างเคร่งครัด
  4. ผู้บริหารและพนักงานต้องดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างมีระบบ และถือเป็นส่วนหนึ่งของงาน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ป้องกันการสูญเสีย และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
  5. ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย นโยบาย กฎระเบียบ ข้อกำหนด มาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัท ว่าด้วยความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

บริษัทจะทบทวนและประเมินระบบการดำเนินงาน ด้านความปลอดภัยเป็นระยะๆ เพื่อนำมาวางแผนในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง